รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ครั้งที่ 2/2561 ( อ่าน 325 )


รายงานการประชุมเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินระบบสุขภาพอำเภอ โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 2/2561 

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.30 -12.00 น.

ณ ห้องประชุมบุณยวงศ์วิโรจน์ชั้น 5 สำนักงานสาธารณจังหวัดพิษณุโลก

เริ่มต้นเวทีโดยทาง นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ ได้ทบทวนการประชุมในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ที่สำคัญการทำความเข้าใจในการทำคู่มือเกณฑ์ประเมินระบบสุขภาพอำเภอที่มีเกณฑ์อยู่ 5 ระดับ ทั้งนี้
การประเมินระบบสุขภาพนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อประเมินผล เพื่อไปประกวด หรือ การกล่าวโทษการทำงาน
ที่ไม่สำเร็จ หากแต่จะเป็นการประเมิน เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น

โดยการประเมินนั้นในบางเรื่องอาจจะต้องมีการประเมินรวมกัน และบางกรณีอาจจะมี
การประเมินเฉพาะรายประเด็นไปนอกจากนี้การเพิ่มคำอธิบายในแต่ละระดับ Level ซึ่งในการประชุมครั้งที่แล้ว มีการอธิบายไว้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ละเอียดชัดเจน ดังนั้นจึงมีการรวบรวมคำแนะนำ
ของผู้เข้าร่วมในการประชุมที่ผ่านมา พร้อมกับปรับคำความให้เหมาะสม โดยใช้เจตนารมณ์ร่วมกันเป็นหลัก 
มีทัศนคติที่ดีในการดำเนินร่วมกัน ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป รวมถึงการให้กำลังใจและ
ให้คำปรึกษาที่ดีร่วมกัน การชักชวนและสร้างแรงบันดาลใจที่ดีต่อกัน ซึ่งจะทำให้ทีมงานมีกำลังใจในการทำงาน

ด้าน รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ กล่าวเสริมว่า คู่มือที่จัดทำมานี้ ยังไม่สมบูรณ์ที่จะสามารถนำไปใช้ได้ แต่ถือเป็นการรวบรวมความคิดเห็นของแต่ละภาคส่วนที่มีการประชุมมาพอสมควร ซึ่งมีรายละเอียดที่เกือบสมบูรณ์ จึงมีการประชุมวันนี้เพื่อที่จะรวบรวมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม ทั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ข้อมูลย้อนกลับมาจากผู้ที่นำไปประเมินเพื่อที่จะนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือการประเมินให้ดียิ่งขึ้น ระบบ
การประเมินนี้ ถือเป็นความท้าทายของผู้ประเมิน เพราะไม่ได้เป็นเกณฑ์การประเมินแบบ Check list 
แต่จะเป็นการประเมินเพื่อการบูรณาการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชน และเหมาะสมกับบริบทพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้จะผิดหรือถูกนั้น ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เมื่อประเมินเรียบร้อยแล้ว ให้มีการนำกลับมาสรุปบทเรียนร่วมกันอีกครั้ง

ทั้งนี้การประเมิน แม้มีข้อกำหนด แต่เราสามารถยืดหยุ่นเพื่อปรับเปลี่ยน หรือ กระตุ้นให้เกิด
การพัฒนาร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาได้ และคู่มือเกณฑ์ประเมินนั้น จำเป็นจะมีการกำหนดระดับ Level เพื่อที่จะเป็นตัวบ่งชี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน รวมไปถึงโอกาสในการพัฒนาเพิ่มเติมให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการเป็นต้นแบบให้พื้นที่ข้างเคียงใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาให้เพิ่มขึ้นมาทัดเทียมกัน

หมวดที่ I ระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำ (Leadership and Governance)

1. การกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพอำเภอ (Policy Guidance)

1.1 ตอบสนองความต้องการของประชาชน

คำอธิบาย เนื้อหานโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นและเป็นข้อตกลงในการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบสุขภาพอำเภอ ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีจุดหมายตอบสนองความต้องการของประชาชน

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  การดำเนินงานของ พชอ. นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน รวมถึงสอดคล้องกับนโยบาย

o  การคัดเลือกประเด็นขับเคลื่อนนโยบาย ตามบริบทและสถานการณ์ของพื้นที่ ซึ่งถือเป็นความยืดหยุ่นที่สามารถปรับแก้ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่มีคำความ/ถ้อยคำ ที่ระบุในนโยบาย อาจจะต้องมีการอธิบายให้เข้าใจเป็นพิเศษ เพื่อความเข้าใจตรงกัน หรือ ควรมีการอธิบายในกรณีที่มีการไปเผยแพร่
ในแต่ละครั้งด้วยเช่นกัน 

o  การรวบรวมและจัดการสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ โดยกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้มีความเข้าใจและนำไปสู่ความพึงประสงค์ให้ได้

o  เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ สามารถกระทำได้โดย 

-      อาจจะต้องมีการขอดูหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น การขอดูนโยบายหลัก

-      การพูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้อง (พชอ.) 

-      การสุ่มถามผู้รับรู้ โดยการไปสอบถามผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

-      การจำลองสถานการณ์ เพื่อทดสอบระบบสุขภาพ 

1.2 สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

คำอธิบาย เนื้อหาในนโยบาย เมื่อนำมาพิจารณาเทียบกับนโยบาย ยุทธศาสตร์อื่น ที่มีผล
ต่อการดำเนินงานของระบบสุขภาพอำเภอ เช่น นโยบาย ยุทธศาสตร์ ในระดับประเทศ ระดับกระทรวง 
ระดับภาค ระดับกลุ่มจังหวัด ระดับจังหวัด พบว่ามีความสอดคล้อง หรือไม่มีสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างมาก

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ขณะนี้แต่ละอำเภอกำลังเรียนรู้และสอดคล้องกับ “ไทยนิยม” ทั้งนี้มีส่วนที่เอื้อประโยชน์และสอดคล้องกับระบบสุขภาพ นอกจากนี้นโยบายระดับภาคหรือระดับจังหวัด เช่น การมุ่งไปสู่เมืองบริการการท่องเที่ยว เมืองแห่งสุขภาพด้านอาหาร เป็นต้น เพราะนโยบายในระดับต่าง ๆ อาจจะมีทรัพยากรที่สนับสนุนระบบสุขภาพระดับอำเภอได้

o   นำนโยบายระบบสุขภาพ ไปเปรียบเทียบกับนโยบายอื่นๆ อาจจะไม่ได้ดูที่ถ้อยคำเพียงอย่างเดียว 
ต้องดูที่คำอธิบายด้วย แม้ว่าคำความ/ถ้อยคำระบุไว้ต่างกัน แต่เป้าประสงค์ในคำอธิบายนั้น
มีความหมายที่ตรงกัน  

o  กระบวนการการจัดการนโยบายที่ไม่สอดคล้องกันโดยมีวิธีการโน้มน้าวให้เกิดทำงานร่วมกันที่กลับมาสอดคล้องกับระบบสุขภาพ หรือ กระบวนการสรรหาวิธีการ/แนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เช่น การประสานหน่วยงานอื่นมารับผิดชอบ หรือ ดูแลแทน

 

2. การออกแบบระบบในอำเภอ (System Design)

2.1 ระบบงานมีความเป็นรูปธรรม

คำอธิบาย ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้น เพื่อให้เกิดการดำเนินการตามนโยบาย มีการกำหนดระเบียบวิธีที่ชัดเจน สามารถทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย ไม่มีความกำกวม หรือไม่สามารถตีความได้หลากหลาย

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  กรณีของการเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพอื่น ๆ เข้ามาอาจจะต้องมีการเปลี่ยนระบบงานใหม่ โดยมีการถ่ายทอดและปรับเปลี่ยนโดยคำนึงการยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
ให้เหมาะสม

o  บางเรื่องจำเป็นจะลงพื้นที่ไปดูของจริง อาจจะไม่จำเป็นจะต้องรอคอยรายงานในที่ประชุมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

o  การทำความเข้าใจรายงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพในอำเภอ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งถ้าไม่มีการทำความเข้าใจร่วมกัน รายงานที่ได้อาจจะไปคนละทิศทาง ไม่สามารถตอบโจทย์การดำเนินงานได้ชัดเจน


2.2 เชื่อมโยงกับระบบอื่นในอำเภอ

คำอธิบาย ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินการตามนโยบาย เช่น การประกาศนโยบายการถ่ายทอดนโยบายไปถึงภาคส่วนต่าง ๆ การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบาย การประเมินและจัดการปรับปรุงนโยบาย หรือการปรับในการปฏิบัติ/แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติมีความเชื่อมโยงกับระบบอื่นในอำเภอ

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  การบูรณาการแผนงานร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ มาวางแผนงานร่วมกัน

o  มีลายลักษณ์อักษรแล้วจำเป็นจะต้องมีการอธิบายความหมายให้เข้าใจร่วมกัน

o  มีความยืดหยุ่นได้ตามบริบทของพื้นที่เพื่อความชัดเจนเหมาะสมที่จะส่งผลดีต่อระบบสุขภาพ

o  การปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานให้เข้ากับนโยบายที่เข้ามาในพื้นที่ในขณะนั้น ๆ แต่ไม่ลืมที่จะนำประเด็นสำคัญเดิมติดไปด้วย หรือ บูรณาการเข้าด้วยกัน

 

3. การบริหารจัดการในภาพรวมของอำเภอ (Overall Management)

3.1 มีการขับเคลื่อนให้การดำเนินการเป็นไปตามทิศทางนโยบาย

คำอธิบาย นโยบายในแต่ละเรื่องที่ถูกกำหนดนั้นได้รับการนำไปสู่การปฏิบัติในขั้นการกำหนดแผนปฏิบัติตามนโยบายการขับเคลื่อนด้วยโครงการ กิจกรรม การบรรลุผลตามที่นโยบายคาดหวัง

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  พชอ. บทบาทที่สำคัญอีกประการ คือ การติดตามการขับเคลื่อนดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ แผนงานต่าง ๆ มีความคืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด เมื่อติดตามเสร็จ ควรมีการทำรายงานเพื่อให้ได้รับรู้รับทราบร่วมกัน

o  ทั้งนี้ถ้าไม่ได้มีการกำหนดติดตามแล้ว การรับรู้เรื่องราวสาระต่างๆ หรือ สถานการณ์ที่เป็นไปในขณะนั้น เป็นอย่างไร อันจะไม่สามารถวางแผนปรับแก้สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้นได้ทันถ่วงที

o  นอกจากนี้ในการดำเนินทุกครั้ง มักจะพบ side effect เช่น ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ไม่พบในระดับนโยบายแต่มักไปพบในระดับชั้นปฏิบัติการ

o  ฉะนั้นจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจโดยเฉพาะคำอธิบาย  

3.2 ทรัพยากรถูกจัดสรรในการบริหารจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสม

คำอธิบาย เมื่อพิจารณาถึงนโยบาย การกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบาย
ของภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ระบบการบริหารจัดการภาพรวมของอำเภอ พิจารณาจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่

 

4. การนำของผู้นำทุกระดับเพื่อบรรลุผลของระบบสุขภาพอำเภอ

4.1การนำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.)

คำอธิบาย พชอ. มีตัวตนชัดเจนและแสดงบทบาทหน้าที่ในการนำการดำเนินงานในอำเภอ
อย่างจริงจังและเกิดผล

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ต้องมีการไปสัมภาษณ์ทีม พชอ. การดูรายงานการประชุม

o  จากประสบการณ์การทำงาน คือ มีการประชุมเรียบร้อยแต่ไม่มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ดังนั้นเกณฑ์ที่ตั้งมานี้เพื่อกำหนดให้เกิดการผลักดันให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ

o  สำหรับการประเมินการนำของผู้นำนั้น อาจจะดูไปตามความเหมาะสมของบริบทและตามรายประเด็น ของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในขณะนั้น

o  แนวทางการประเมินอาจจะต้องมีการอาศัยทั้งการสอบถามและการขอดูหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมถึงการไปสุ่มสอบถามบุคคลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น 

o   ในกรณีของการขับเคลื่อนไปถึงขั้นการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือ การบรรจุในแผนประจำปี
แล้วนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินงานขับเคลื่อนได้แล้ว

o   การกำหนดถ้อยคำว่า “รวดเร็ว” นั้น อาจจะไม่ได้มีการบ่งชี้ในรูปแบบของเวลาเป็นตัวกำหนด 
แต่เป็นไปตามคุณลักษณ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

o  ฉะนั้นใน level ที่ 5 ให้ปรับคำว่า “รวดเร็ว” ออก และเปลี่ยนคำว่า “ทันการณ์” มาทดแทน

 

หมวดที่ II ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery system)

1. ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery system)

1.1 ตอบสนองความจำเป็นในแต่ละกลุ่มวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

คำอธิบาย ระบบบริการสุขภาพที่กำหนดขึ้นในรูปแบบใด ๆ จะต้องถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดผลที่ดี
ต่อสุขภาพของแต่ละกลุ่มวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  การบริการเชิงรุกนั้นจำเป็นจะต้องให้สิทธิของผู้ให้บริการที่จะสามารถตัดสินใจในการจัดการปัญหาได้ โดยที่ไม่ต้องขอความเห็นจากผู้รับบริการ แต่ทั้งนี้ต้องดูตามสถานการณ์และเหตุจำเป็น

o   มีการลงพื้นที่ แล้วพบว่ามีการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยดูจากรายงานและผล
การดำเนินงานที่ผ่านมา 

o   บางกรณีการใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ หรือ สังคมออนไลน์ (Line) เพียงแค่การแจ้งรายละเอียด 
แต่ไม่มีการเชื่อมโยงในลักษณะของการบริการระบบสุขภาพร่วมกัน ถือว่าไม่มีการเชื่อมโยง แต่ถ้ามีการกระบวนการทำงานร่วมกันมากกว่าหนึ่งองค์กร มีการร่วมมือร่วมใจการทำงานร่วมกัน 
ในการแก้ปัญหา จึงจะถือว่าเป็นการเชื่อมโยงร่วมกันแท้จริง ต้องเป็นไปในลักษณะของระบบ(System) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ (Event)    

o  การบริการสุขภาพอันเป็นพื้นฐานจำเป็นในพื้นที่ โดยไม่คำนึงถึงตัวนโยบายเป็นหลักทั้งหมด หากแต่มีการสอดคล้องร่วมกัน ดังนั้นจึงมีการกำหนดถ้อยคำ “ผลตามดัชนี”

1.2 บริการครบทุกมิติ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู คุ้มครองผู้บริโภค

คำอธิบาย บริการสุขภาพเรื่องใด ๆ ที่จัดให้กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดบริการในมิติส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู คุ้มครองผู้บริโภค

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ไม่ประสงค์จะไปดูใหม่แต่ให้ยึดผลของการนิเทศติดตามจากทีมงานเดิม

 

หมวดที่ III กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)

1. กำลังคนในภาคสาธารณสุข (Health Sector Workforce)

1.1 กำลังคนในแต่ละวิชาชีพมีความเพียงพอ

คำอธิบาย กำลังคนในวิชาชีพต่าง ๆ ที่ดำเนินภารกิจในสถานพยาบาล หรือในพื้นที่มีจำนวนที่เพียงพอตามมาตรฐานที่กำหนด

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  การกำหนดบุคลากรสุขภาพที่โรงพยาบาลระดับอำเภอจำเป็นจะต้องมีไว้เพื่อเป็นหน่วยบริการที่ถึงเนื้อถึงตัวผู้รับบริการ ไม่ได้เน้นที่จำนวนคนแต่ให้คำนึงถึงบทบาทและภารกิจ หรือ หน้างานของพื้นที่

o   กรณีของ แพทย์แผนไทย ที่บางพื้นที่มีการจัดกำลังคนไว้แต่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ประจำอาจจะดู
ที่ความเหมาะสมในห้วงเวลา 

o   การกำหนดกำลังคนสาเหตุที่กำหนดตามมาตรฐานนั้นให้ดูจากสถานการณ์ความเป็นจริง
เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในพื้นที่ กล่าวโดยสรุปคือ การนำ FTE เป็นตัวกำหนด

o  1-2 เป็นภารกิจหลัก ส่วน 3 กำลังคนในภารกิจที่สามารถทำงานพัฒนาได้ 4 กำลังคนในส่วนสนับสนุนสามารถทำงานพัฒนา ส่วน level 5 ไว้คงเดิม

o  เสนอให้มีการนำเอา “การกำหนดมาตรฐานตามนโยบาย” 

o  ใน Level 3 ให้ตัดคำว่า “คือ” ออก แล้วใช้คำว่า “ได้แก่” แทน 

1.2 กำลังคนมีค่านิยมการทำงานเพื่อประชาชน

คำอธิบาย ค่านิยมที่กำลังคนภาคสาธารณสุขยึดถือเป็นหลักในการทำงาน และแสดงพฤติกรรม คือ การที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และ ทำงานเพื่อประชาชน

 

2. กำลังคนนอกภาคสาธารณสุข (Non-Health Sector Workforce)

2.1 เครือข่ายนอกภาคสาธารณสุขร่วมมือในการดำเนินการด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

คำอธิบาย เครือข่ายนอกภาคสาธารณสุข เช่น ส่วนราชการอื่น ภาคประชาชน มูลนิธิ องค์กรเอกชน สมาคมชมรม ที่มีการดำเนินงาน ร่วมดำเนินการ เชื่อมโยงการดำเนินการ หรือช่วยเหลือภาคสาธารณสุข 
อย่างสม่ำเสมอ

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ให้ตัดคำว่า “มีจำนวนเท่าใด” ใน Level 1 ออก

o  ปรับคำความที่มีว่า “จริง” ใช้ซ้ำบ่อยออกบ้างตามความเหมาะสม

o  เป็นไปได้ยากมากที่จะมีการดำเนินงานครอบคลุมทุกด้าน

2.2 มีความสามารถในการทำงานร่วมกับกำลังคนในภาคสาธารณสุข

คำอธิบาย เครือข่ายนอกภาคสาธารณสุขที่มาร่วมดำเนินการด้านสุขภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการด้านสาธารณสุขนั้นเกิดผลดีอย่างที่คาดหวัง และไม่เกิดผลเสีย
ที่ไม่ต้องการเพราะงานด้านสาธารณสุข ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ความรู้ และทักษะในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ตัดคำว่า สามารถ ออก ใน Level ที่ 3

o  อยากให้ยกตัวอย่าง สักหนึ่งตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เพื่อการรับรู้รับทราบที่เข้าใจร่วมกัน 

o  เน้นประเด็นที่ทาง พชอ. เกาะติด/สนใจ 

 

หมวดที่ IV ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information System)

1 ฐานข้อมูลและสารสนเทศภาพรวมระดับอำเภอ (District Health Database)

1.1 สนับสนุนการบริการสุขภาพอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

คำอธิบาย บริการสุขภาพเกือบทุกเรื่องจำเป็นจะต้องมีข้อมูลใช้ประกอบหรือสนับสนุนการให้บริการ ความถูกต้อง ครบถ้วน ของข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็น

1.2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างครอบคลุม

คำอธิบาย การดำเนินการด้านสุขภาพจำเป็นจะต้องมีข้อมูลใช้ประกอบการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสำเร็จจึงจำเป็นจะต้องมีข้อมูลอย่างครอบคลุมในทุกเรื่อง

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o   หมายถึง เมื่อมีการนำข้อมูลบริการสุขภาพจากระบบจัดเก็บข้อมูลมาพิจารณาถึงความถูกต้อง
ตามบริการ หรือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง พบว่ามีความถูกต้องตรงกัน

1.3 การออกแบบฐานข้อมูลและสารสนเทศตอบสนองความต้องการของการใช้งาน

คำอธิบาย ฐานข้อมูลและสารสนเทศถูกออกแบบขึ้น และใช้งานอยู่ เริ่มต้นมาจากการพิจารณาความต้องการใช้งานของผู้เกี่ยวข้อง และออกแบบที่สามารถตอบสนองการใช้งาน

 

หมวดที่ V การเข้าถึงยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็น

(Access; to Essential Medicines and Health Technology)

1 ระบบบริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่จำเป็น(Management for accessibility of essential medicines and health technology(

1.1   ยา และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ได้รับการจัดสรรอย่างสอดคล้องกับ แผนบริการสุขภาพ

 คำอธิบาย การจัดสรรยา และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ให้แก่หน่วยงาน หรือภาคส่วนต่าง ๆ กระทำโดยที่มีการกำหนดแผนบริการสุขภาพขึ้นมาก่อน แล้วพิจารณาว่าในแต่ละการดำเนินการตามแผนบริการสุขภาพนั้นจำเป็นต้องใช้ยา และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด

1.2 มีการเลือกใช้ยาและเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ อย่างรู้เท่าทัน                                  

คำอธิบาย ประชาชนผู้ใช้ยา และเทคโนโลยีด้านสุขภาพรู้เท่าทันและสามารถประเมิน ตัดสินใจเลือกใช้ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ตัดคำว่า “เอา” ออก ใน level 1 

2.1 มีผลงานการศึกษาและพัฒนาบนพื้นฐานการใช้งานจริง                                           

คำอธิบาย ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่มีการใช้มากในพื้นที่อำเภอควรมีการศึกษาและพัฒนา
โดยที่การตั้งโจทย์ในการศึกษาควรมาจากปัญหาหรือความต้องการจริงตามการใช้งาน

2.2 มีการเชื่อมโยงร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกอำเภอ                             

คำอธิบาย การศึกษาและพัฒนา ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ในบางรายการหรือบางประเด็น 
อาจมีความยากลำบากในการดำเนินการจึงควรมีการเชื่อมโยงร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกอำเภอ เพื่อเสริมศักยภาพแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมปรับแก้คำความ“Level 1 คือ มีการกำหนดภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อความร่วมมือในการจัดการเรื่องเกี่ยวกับยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพทั้งในและนอกอำเภอ”  ใน Level 1 
ให้ปรับคำความจาก มีรูปแบบที่ใช้ง่าย” มาเป็น “มีรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน” และ ตัดคำว่า “อาจ” ออกทั้งหมด


หมวดที่ VI การเงินการคลังและการแบ่งปันทรัพยากร

1 การเงินการคลังและทรัพยากรที่นำมาใช้ในการพัฒนาสุขภาพจากในภาคสาธารณสุข

(Health Sector Financing and Resource sharing)

1.1 การจัดสรร แบ่งปัน ลงทุน ทรัพยากรสอดคล้องกับภารกิจและทิศทางการพัฒนา

คำอธิบาย เมื่อพิจารณา การจัดสรร แบ่งปัน ลงทุน ทรัพยากร พบว่า สอดคล้องกับความต้องการหรือสามารถหนุนเสริมภารกิจและทิศทางการพัฒนาของอำเภอ

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o  ไม่ใช้คำว่าจัดสรรเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นจะต้องมีการเพิ่มในส่วนของการแบ่งปัน ลงทุน ทรัพยากร เพิ่มเติม 

o  แต่ทั้งนี้พื้นฐานของการเงินการคลัง จำเป็นจะต้องยึดหลักของความเพียงพอ และพอเพียง 

o   การจัดการแบบส่วนรวมในที่นี้ ไม่ใช่การถัวเฉลี่ยหากแต่เป็นการพิจารณาจากการจัดการตาม
ความเพียงพอในการจัดการตามภารกิจแต่ทั้งนี้ ถ้าจะวัดจากทัศนคติไม่สามารถกำหนดขอบเขตความพอเพียงได้

o  ใช้เกณฑ์หลักฐานจากการประชุม หรือ การกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีมติร่วมกันในระดับอำเภอ หรือ ระดับจังหวัด 

o  ใช้เกณฑ์กำหนดจากบทบาทภารกิจ หน้างาน ที่มีความจำเป็น มาเป็นเกณฑ์ในการประเมินผล ทั้งนี้ต้องดูตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่  

1.2 มีทรัพยากรสนับสนุนจากภาคส่วนอื่นทั้งในและนอกอำเภอ

คำอธิบาย ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในอำเภอได้รับผ่านมา
ทางภาคสาธารณสุขแล้ว ยังอาจมาจากนอกภาคสาธารณสุขด้วย ทั้งนี้เพราะการดำเนินการด้านสุขภาพนั้น ดำเนินการทั้งโดยหน่วยงานภาคสาธารณสุข และนอกภาคสาธารณสุข


หมวดที่ VII ระบบสุขภาพชุมชน (Community Health System)

1 ความชัดเจนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อสุขภาพ

1.1 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพหรือการดำเนินการด้านสุขภาพในพื้นที่

คำอธิบาย ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพหรือดำเนินการด้านสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในระบบการดำเนินงานปกติ หรือการทำโครงการ/กิจกรรม

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

o   ปรับแก้ “Level 3 : ชุมชนมีการดำเนินความร่วมมือตามที่กำหนด หมายถึง การดำเนินการ
ความร่วมมือในการจัดบริการสุขภาพและหรือตามโครงการ/กิจกรรมด้านสุขภาพเกิดขึ้นจริง”

o  เพิ่ม “อย่างต่อเนื่อง” ต่อท้ายประโยค ใน level 5 

1.2 มีทรัพยากร หรือกฎระเบียบ ที่เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ ที่ชุมชนร่วมให้ หรือร่วมกำหนด

คำอธิบาย การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนมีรูปธรรมที่ชัดเจนเกิดขึ้นในรูปการให้ทรัพยากรสนับสนุน หรือ การออกกฎระเบียบเพื่อเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่

1.3 ชุมชนมีกระบวนการเชื่อมโยงการจัดการด้านสุขภาพกับการดำเนินการด้านอื่น

คำอธิบาย สุขภาพที่ดีของชุมชนไม่ได้เกิดจากการดำเนินการด้านสุขภาพเท่านั้น แต่จะต้องเป็น
การดำเนินการด้านสุขภาพกับการดำเนินการด้านอื่นที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพพร้อมกันไปด้วย

 

การเปิดวงร่วมแลกเปลี่ยนสรุปบทเรียนร่วมกัน

ในช่วงท้ายของเวทีได้มีการร่วมสรุปความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมร่วมกันเพื่อที่จะได้ข้อสรุปที่ตรงกัน ก่อนที่จะมีการประชุมทีมงานประเมินเพื่อนำคู่มือไปใช้จริงในพื้นที่ ดังนี้

-        เกณฑ์การประเมินผลอาจจะมีการปรับแก้คำความในบางข้อแต่ในบางหมวดนั้นยังคงคำความไว้เช่นเดิมโดยถือเป็นมติร่วมกันของคณะกรรมการ

-        คู่มือนี้ยังถือว่าไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแต่ควรมีการนำไปใช้เพื่อได้เกิดการเรียนรู้และข้อเท็จจริงสำหรับ
คนที่นำไปใช้ คือ ทีมประเมิน

-        เมื่อมีการนำไปใช้ในบางพื้นที่แล้วควรมีการนำมาสรุปบทเรียนร่วมกันเป็นระยะเพื่อทราบผลตอบรับของทีมประเมินรวมถึงแหล่งข้อมูลที่ได้ทำการเก็บข้อมูล

-        ถ้าจะให้ได้ข้อมูลและการเรียนรู้ที่รวดเร็วควรเริ่มเก็บข้อมูลจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นหลัก เพราะจะสามารถได้ข้อมูลที่ครอบคลุมพอสมควรจากนั้นค่อยขยายไปสู่โรงพยาบาล ท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงานระดับอำเภอต่อไป


รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 2/2561 

วันพฤหัสบดี ที่ 3 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30-16.30 น.        

ณ ห้องประชุมริมน่าน ชั้น 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

 

ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 ของคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ซึ่งครั้งนี้ได้เชิญทีมงานมาประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมริมน่าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก 

โดยในเวทีครั้งนี้มี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ หัวหน้าผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพ
ที่ 2 แต่อยู่ในช่วงของการเดินทาง ดังนั้น รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ จึงรับหน้าที่เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมแทน  พร้อมทั้งชี้แจงวาระการประชุม ดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

สำหรับการประชุมทำความเข้าใจแบบประเมิน ซึ่งได้มีการประชุมไปแล้ว โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้น  ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อ เวลา 09.00-12.00 น. 
ของวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมบุณยวงศ์วิโรจน์ ชั้น 5 สำนักงานสาธารณจังหวัดพิษณุโลก  

วาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายงานการประชุม

            ในการประชุมครั้งที่ 1 เนื้อหาการประชุมนั้นได้ทำความเข้าใจอยู่กับเรื่อง AUN-QA 
มากพอสมควร โดยมีการทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อที่จะปรับมาใช้ให้ได้กับพื้นที่อย่างเหมาะสม 
โดยเบื้องต้นการประเมินนั้นเน้นตัวชี้วัดที่เป็น Outcome ก่อน

 

วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

คู่มือเกณฑ์ประเมินระบบสุขภาพอำเภอโดยคู่มือที่นำใช้นี้ยังไม่สมบูรณ์ และได้มีการนำเข้าเวทีประชุมชี้แจงเพื่อปรับคำความ/ถ้อยคำ ตลอดจนการกำหนดกรอบให้มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้คู่มือฉบับนี้ จะมีการนำไปใช้จริงในพื้นที่ก่อนเพื่อให้เกิดประสบการณ์ รวมถึงผลตอบรับกลับมาสรุปร่วมกันพร้อมกันนี้ ประธานในที่ประชุมจึงได้เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 

แลกเปลี่ยน

-        การติดตามประเมินผลในพื้นที่นั้นไปตามดูกิจกรรมที่แต่ละพื้นที่ดำเนินตามกรอบนโยบายทั้งในระดับอำเภอ นโยบายระดับจังหวัด ระดับภาค หรือ เป็นนโยบายระดับชาติ นอกเหนือจากนั้น
เป็นการประเมินผลตามสถานการณ์/บริบทของพื้นที่ที่ทางทีมงานประเมินได้ลงไปประสบพบเจอ ทั้งในรูปแบบข้อมูลเชิงประจักษ์/การดูรายงาน การสอบถาม/สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง กล่าวโดยสรุป คือ การพบเจออะไร ให้เก็บตามนั้น

-        นอกจากนี้ เสนอให้พื้นที่อำเภอ มีการนำเสนอข้อมูลมาให้กับทีมประเมินรับรู้รับทราบเบื้องต้นก่อน

-        เมื่อประเมินผลเรียบร้อย ให้มีการคืบข้อมูลการประเมิน กลับไปยังพื้นที่ เพื่อให้นำกลับไปพัฒนาต่อเนื่องต่อไป

-        ภารกิจของทีมประเมิน คือ การไปค้นหาความจริงในส่วนหนึ่ง และบทบาทที่สำคัญอีกประการ คือ การไปแลกเปลี่ยนและให้คำปรึกษากับพื้นที่ด้วยเช่นกัน

 

วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

การประเมินระบบสุขภาพ

-        รายชื่อผู้ประเมิน 5 จังหวัด 

o   รายนามทีมประเมินแต่ละจังหวัดนั้นได้มีทำคำสั่งแต่งตั้งทีมประเมินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 

o   ทั้งนี้การดำเนินงานประเมินนั้นอาจจะต้องมีการทดลองไปประเมินบางส่วนมาก่อนสัก 1-2 อำเภอ เช่น อำเภอเมือง หรือ อำเภอรอบนอกที่ใกล้กับอำเภอเมือง แล้วนำกลับมาสรุปบทเรียนร่วมกัน ทั้งนี้อยากให้มีปัญหาน้อยที่สุดไม่ให้มีบทเรียนแบบกระทรวงสาธารณสุข เคยประสบมา 

o   โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 2 เสนอ
ให้มีการ try out เพื่อทดลองโดยอาจจะคัดเลือกพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้เลย มอบหมายให้คณะอนุกรรมการประเมิน คัดเลือกพื้นที่ทดลองประเมิน เช่น เลือกอำเภอเมือง และ อำเภอรอบนอก อีก 1 อำเภอ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อทดลองทำจริง ทั้งนี้เสนอให้มีตัวแทนคณะทำงานประเมินของแต่ละจังหวัดมาร่วมทดลองประเมินในครั้งนี้ ร่วมกับคณะอนุกรรมการประเมิน ด้วยเช่นกัน ซึ่งควรมีการวางแผนงานลงพื้นที่ประเมินอำเภอแรก เมื่อเสร็จสิ้นอำเภอแรกแล้ว ให้เว้นระยะ 3-4 วัน เพื่อนำกลับมาสรุปบทเรียนร่วมกัน เพื่อที่จะสามารถนำบทเรียนไปทดลองทำในพื้นที่อำเภอทดลอง อำเภอที่สอง ต่อไป ส่วนทีมงานประเมินในระดับจังหวัดนั้น ให้เริ่มประเมินอำเภอแรก ภายในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ จังหวัดละ 1 อำเภอ 

o   หลังจากที่มีการ try out ใน 2 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก และ 1 อำเภอแรกของจังหวัดต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว ในที่ประชุมเสนอให้ควรนัดหมายมาสรุปบทเรียนร่วมกัน   

o   กรณีของเนื้อหาของการประเมินนั้นให้มีผสมผสานทั้งการแลกเปลี่ยนพูดคุยพร้อมกับ
การดูข้อมูลหรือรายงานเชิงประจักษ์ ควบคู่กัน ซึ่งขอให้บรรยากาศในการประเมินเป็นไปแบบกัลยาณมิตร และไม่ควรไปรบกวนพื้นที่

o   ทั้งนี้ทางโครงการมีงบประมาณจัดสรรให้ทีมงานไว้แล้วเพื่อการบริหารจัดการที่คล่องตัว
มากขึ้น

o  เสนอให้ทางเขตสุขภาพที่ 2 ทำหนังสือออกให้กับทางทีมงานเพื่อส่งไปให้กับหน่วยงานในพื้นที่ที่ต้องการจะลงไปประเมิน

o  กรณีของการไม่ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูล หรือ ประสบปัญหาของการประสานงานพื้นที่อาจจะต้องใช้แนวทางของการรูปแบบเชิงสั่งการของส่วนราชการ

o   แบบสอบถาม หรือ แบบเก็บข้อมูล ควรเป็นรูปแบบที่สะดวกและง่ายต่อการกรอกข้อมูล 
ไม่ว่าจะเป็นแบบเอกสาร หรือ ในรูปแบบเทคโนโลยีกรอกข้อมูลผ่านระบบรวมถึง
การขอข้อมูลที่ให้ทางพื้นที่อำเภอจัดส่งให้ก่อนเน้นย้ำว่าไม่ให้ปริมาณคำถามหรือเอกสาร
ที่มากจนเกินไปเพราะอย่างไรทางทีมงานจะต้องลงไปสอบถามในพื้นที่อยู่แล้ว

o   ในที่ประชุมมีมติให้ทางคณะอนุกรรมการประเมินจัดทำแบบฟอร์มเก็บข้อ


... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...