รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ครั้งที่ 1/2561 ( อ่าน 301 )


รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 1/2561 

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมเบนทูล ชั้น 4 

ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

การประชุมครั้งนี้หัวใจสำคัญ คือ การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการประเมินระบบสุขภาพอำเภอโดยเริ่มต้นเวที รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมทั้งรายงานผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา ตามวาระ
การประชุมดังนี้
 
วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ 
1.1  รายงานการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1 (ส่วนการดำเนินการ)
1.    การประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ และการประชุมคณะอนุกรรมการ ซึ่งประกอบ
ไปด้วยคณะอนุกรรมการวิชาการระบบสุขภาพอำเภอ คณะอนุกรรมการพัฒนากรอบระบบสุขภาพอำเภอ และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการประเมิน รวมทั้งสิ้น 15 ครั้ง
2.    การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนากรอบ
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ จำนวน 3 ครั้ง
1.2  รายงานการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1 (ส่วนผลลัพธ์)
1.     ข้อมูลระบบสุขภาพอำเภอ
https://drive.google.com/open?id=1C1MjuReR33L0u9Kk6UNVHnkBFjqV92x
2.     กรอบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ 1st Draft
3.     (ร่าง) แบบประเมินระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์


วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
1.     รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 4/2560 วันที่ 28 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุมเบนทูล ตึกอำนวยการ ชั้น 4 โรงพยาบาลพุทธชินราช


วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง การดำเนินงานโครงการในงวดที่ 2
1.    การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา
กรอบระบบสุขภาพอำเภอ จำนวน 2 ครั้ง
2.     สรุปและจัดทำเอกสารรูปแบบที่พึงประสงค์และแนวทางการประเมิน
3.     พัฒนาศักยภาพผู้ประเมินสำหรับผู้ประเมินทุกระดับ (ครั้งละ 45 คน) จำนวน 2 ครั้ง 
4.     สื่อสารทำความเข้าใจกับภาคีที่เกี่ยวข้อง (ครั้งละ 150 คน) โดยจัดประชุมชี้แจง จำนวน 2 ครั้ง 
5.     ประเมินสถานการณ์ระบบสุขภาพอำเภอ จำนวน 47 อำเภอ (ประเมินตนเอง) โดยมีงบประมาณสนับสนุน อำเภอละ 20,000 บาท
6.     การสื่อสารสาธารณะ จัดทำเอกสารเผยแพร่ สื่อสารองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ในเขต
7.     สนับสนุนให้ทั้ง 47 อำเภอ จัดทำแผนพัฒนาประเด็นสุขภาพ โดยมีงบประมาณสนับสนุนอำเภอละ 50,000 บาท
8.     ติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมในระดับจังหวัด ทั้ง 5 จังหวัด
9.     ระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงานงวดที่ 2 วันที่ 20 มิถุนายน 2561
 
วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 การพัฒนาระบบการประเมินและผู้ประเมิน 
1.     การใช้เกณฑ์ประเมิน AUN-QA
2.     กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งผู้ประเมิน
3.     การพัฒนาศักยภาพผู้ประเมิน
4.2 การสื่อสารทำความเข้าใจภาคีที่เกี่ยวข้อง
1.     ความหมายของภาคีที่เกี่ยวข้อง
2.     วิธีการสื่อสารทำความเข้าใจกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
3.     ประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับ


เปิดวงเสวนาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 2 เสนอว่า ในขณะนี้
การดำเนินโครงการสามารถกำหนดกรอบการพัฒนาสุขภาพที่พึงประสงค์ได้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น
จึงเสนอว่า การดำเนินโครงการงวดที่ 2 ในกิจกรรมหัวข้อ 3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากรอบระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์อีกจำนวน 2 ครั้งๆ ละ 45 คน นั้น ไม่ควรดำเนินการจัดแล้ว ควรมีการนำงบประมาณไปดำเนินการในกิจกรรมด้านอื่น ๆ เช่น เป็นเวทีชี้แจงให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบ
ทั้งนี้ทาง รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เสนอว่า อาจจะนำไปเพิ่มในกิจกรรมหัวข้อ 3.3 คือ 
การพัฒนาศักยภาพผู้ประเมิน โดยผู้ประเมินในเขตทุกระดับ จากจำนวน 2 ครั้ง เพิ่มเป็น 4 ครั้ง 
ครั้งละ 45 คน เช่นเดียวกัน
จากนั้นจึงเข้าสู่การนำเสนอเครื่องมือในการประเมินผลซึ่งเป็นคณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ ผศ.ดร.พนมขวัญ ริยะมงคล และ ภก.ดร.ทรงศักดิ์ ทองสนิท โดยการประเมินจะใช้เกณฑ์ 7 ระดับ ตามแนวทางการประเมินของ AUN-QA ระดับสถาบัน ดังต่อไปนี้
1.     Absolutely Inadequate
2.     Inadequate and Improvement is Necessary
3.     Inadequate but Minor Improvement Will Make It Adequate
4.     Adequate as Expected
5.     Better Than Adequate
6.     Example of Best Practices
7.     Excellent (Example of World-class or Leading Practices)
ทั้งนี้ทางทีมผู้นำเสนอ ได้มีการทำตัวอย่างการดำเนินงานในการประเมิน มาให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบรูปแบบการดำเนินงาน ดังนี้

1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

ระดับคะแนน

ตัวอย่างการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหลักฐาน

1

ยังไม่มีการดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอ

2

พบว่าได้มีการกำหนดรูปแบบ การสำรวจให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอ มีกำหนดการ มีแบบสอบถาม/สัมภาษณ์/ประชุม

มีหลักฐานการดำเนินการสำรวจไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ครบถ้วนหรือกำลัง
จะดำเนินงานการสำรวจความคิดเห็น

3

มีผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้วได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
แต่ยังไม่ได้นำข้อมูล ไปใช้ในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอหรือไม่พบหลักฐานเอกสารหรือจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ว่ามีการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ในการกำหนดทิศทาง

4

จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการดูข้อมูลการวิเคราะห์และการสรุป
การสำรวจความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่ามี
การดำเนินการสำรวจความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ และมีการนำความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้ในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอ

5

พบว่าระบบการสำรวจความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มีประสิทธิภาพดี ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการตามทิศทางของระบบสุขภาพระดับอำเภอที่กำหนด จากหลักฐานพบว่า ผลลัพธ์ด้านสุขภาพในภาพรวมของอำเภอดีขึ้น

6

พบว่าระบบการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีบูรณาการกับระบบการปรับปรุงการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอเป็นอย่างดี เป็นระบบและการดำเนินงานตัวอย่างที่ดี (Best practice) ในเรื่องนี้

7

พบว่ามีนวัตกรรมในระบบการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ที่บูรณาการกับการปรับปรุงการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ มีผล
การดำเนินการของระบบสุขภาพที่เป็นเชิงบวกแก่ประชาชนในอำเภออย่างต่อเนื่อง และได้ดำเนินการระยะหนึ่งที่แสดงให้เห็นผลลัพธ์

Block 1.1 Governance

การกำหนดทิศทางระบบ

1.1.1 มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1.1.2 ตอบสนองความต้องการเป็นธรรม

1.1.3 ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์

Plan    : มีการวางแผนโดยนำข้อมูลต่าง ๆ กำหนดผู้มีส่วนร่วมได้ครอบคลุม เตรียมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์

Do       : ดำเนินการวางแผนโดยการใช้กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วม  

           กระบวนการเปิดเผยตรวจสอบได้

Check : มีการวิเคราะห์หรือตรวจสอบแผนหรือรับฟังจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อผ่านเวลาไป

Act      : มีการปรับปรุงแผนให้เหมาะสมกับผลที่เกิดหรือสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป

 

Block 1.2 Governance

บริหารจัดการภาพรวม

1.2.1 โครงสร้างการดำเนินงานชัดเจน

1.2.2 มีทรัพยากร Support พอเพียง

1.2.3 มีระบบการติดตาม

Plan     : มีการกำหนดโครงสร้างที่กำหนดหน้าที่ และ Function ของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนมีการเตรียมทรัพยากรพอเพียงกับการดำเนินการมีการกำหนดผู้ทำหน้าที่และวิธีกำกับติดตาม        

Do       : ทุกส่วนในโครงสร้างที่กำหนดทำหน้าที่อย่างเต็มที่ กระจายจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ มีผลของการกำกับติดตาม

Check  : มีการรวบรวมผลของการปฏิบัติภารกิจผลการใช้ทรัพยากรและการกำกับติดตามมาพิจารณาตรวจสอบ

Act      : ให้การติดตามปรับปรุงโครงสร้างภารกิจการทำงานการจัดสรรทรัพยากรและวิธีการติดตามงาน

แนวทางการประเมินระดับคะแนน

“ความหมาย” ของระดับคะแนน 1-4 ข้างต้น เป็นการแสดงถึงระดับคุณภาพของการดำเนินการ (QA Practice) ตามเกณฑ์ หรือสถานะของการดำเนินการระบบสุขภาพอำเภอว่าได้ดำเนินการถึงในระดับใด ตั้งแต่ระดับ ไม่เพียงพออย่างยิ่ง (ระดับ 1) หรือยังไม่ได้ดำเนินการตามที่เกณฑ์กำหนด ไม่มีแผนงานไม่มีหลักฐานว่าได้ดำเนินการตามเกณฑ์ จนถึง เพียงพอตามความคาดหมาย (ระดับ 4) หรือมีหลักฐานว่าได้ดำเนินการตามเกณฑ์อย่างเป็นระบบ และมีแนวโน้มผลการดำเนินการที่สม่ำเสมอตามคาดหวัง

 
ทั้งนี้ในการประเมินจะเป็นการตรวจหาหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงระดับการดำเนินการต่าง ๆ โดยจะไม่ใช่การตรวจเอกสารทุกชิ้นที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นการสุ่มตรวจเอกสารสำคัญและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันการดำเนินการตามเกณฑ์ 
ส่วนระดับ 5-7 เป็นการบ่งชี้ถึงการดำเนินการที่เหนือกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการตามเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลลัพธ์การดำเนินการที่ดีและมีแนวโน้มผลการดำเนินการในเชิงบวก (ระดับ 5) จนได้รับการยอมรับจากผู้อื่น (เช่น จากหน่วยงานอื่น หรืออำเภออื่น) เป็นตัวอย่างของแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (ระดับ 6) หรือเป็นแนวปฏิบัติชั้นนำหรือดีเยี่ยม มีการดำเนินการตามเกณฑ์
อย่างมีนวัตกรรม มีผลลัพธ์ที่โดดเด่นในระดับโลก (ระดับ 7) ทั้งนี้สามารถใช้ระดับคะแนน ในการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงคุณภาพของระบบสุขภาพอำเภอหรือในการประเมินสิ่งที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ (quality and improvement activities)

เกณฑ์การให้คะแนนการประเมิน ระดับ 1-7 ตามหลักการ AUN-QA

1

2

3

4

5

6

7

ไม่มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ ที่กำหนด

มีผลการดำเนิน

งานเบื้องต้น

(เป็นข้อมูลดิบ เริ่มมีระบบ แต่ยังไม่สมบูรณ์

ไม่สามารถ/
ไม่มีการวิเคราะห์)

มีการเก็บ

ข้อมูลอย่าง

เป็นระบบ

สามารถ/
มีผลการวิเคราะห์ การดำเนิน งานเทียบกับเป้าหมาย

3+มีแนวโน้ม

ผลการ

ดำเนินงาน

ของระบบดี

ทำให้เกิดผลเป็นไป /

ในทิศทางตามเป้าหมาย
ที่กำหนด

4+มีการ

ดำเนินงาน

เหนือกว่าที่เกณฑ์
กำหนดส่งผลให้เกิด

การพัฒนาระบบบ

5+มีผลการดำเนินงานที่เท่าหรือสูงกว่าคู่เทียบในระดับชั้นนำของประเทศ มีการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้การดำเนินงาน

เทียบเท่าหรือสูงกว่าคู่เทียบ (คู่เทียบชั้นนำ

ระดับประเทศ)

Excellent

(Example

of World-

class or

Leading

Practices)

การแลกเปลี่ยนและเสนอแนะเพิ่มเติม
-        นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ แสดงความคิดเห็นว่าถ้ามี sub-criteria มากจนเกินไป อาจจะส่งผลในเรื่องของระยะเวลาที่มีค่อนข้างจำกัด ส่วนการดำเนินงานตามกรอบ PDCA นั้น ทำให้ครบ แต่ให้คัดเลือกประเด็นประเมินผลตามความสำคัญ อาจจะไม่ต้องเอามาทั้งหมด นอกจากนี้ยังเห็นด้วยให้มีการปรับเกณฑ์การประเมินจาก 7 ระดับ ให้คงเหลือเพียงแค่ 5 ระดับเท่านั้น เพื่อกระชับเกณฑ์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญการประเมินผลควรคำนึงถึงคำที่ใช้ในการรายงานการประเมิน
-     ผศ.ดร.ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร จาก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เสริมว่า ควรมี
การนิยามความหมาย เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มีความเข้าใจชัดเจนร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความหมายที่ตรงกันเพื่อความสะดวกในการดำเนินงานการประเมิน นอกจากนี้อาจจะมีการจำกัดความหายของคำให้กว้าง ๆ ไว้ก่อน เพื่อสามารถนำไปใช้ร่วมกับเกณฑ์อื่น ๆ ได้
-     เสนอให้มีการตั้งชุดคณะทำงานเพื่อเข้ามาช่วยกันออกแบบกรอบการประเมินกรณีที่จะมี
การลดเกณฑ์ลงให้เหลือเพียง 5 ข้อ ที่ประชุมเสนอว่าอาจจะขอความร่วมมือนักวิชาการจากสำนักงานสาธารณสุขจาก 5 จังหวัด มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนและจัดทำเกณฑ์ขึ้นมาร่วมกัน
-        ผศ.ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล จาก คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอว่า ควรเพิ่มคอลัมน์ให้เป็นช่องของ “หลักฐาน” เพื่อทำการ Check list ไปพร้อม ๆ กัน
-        จากเกณฑ์การประเมิน (Sub-Criteria) ที่มีอยู่ถึง 111 หัวข้อนั้น ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการประเมิน ควรมาร่วมกันคัดเลือกเกณฑ์ที่สำคัญไว้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเลือกทั้งหมด เมื่อคัดเลือกได้แล้ว จึงนำเกณฑ์นั้น ๆ ไปประเมินในแต่ละอำเภอ (ระดับพื้นฐาน : Basic) แต่ทั้งนี้ทางพื้นที่แต่ละอำเภอสามารถประเมินตนเองดูว่าจะปรับเกณฑ์การประเมินเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ซึ่งถ้าทำได้จะถือว่าพื้นที่มีการพัฒนาศักยภาพยกระดับตนเองเพิ่มขึ้น (ระดับก้าวหน้า : Advance)
-     ในขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อใส่ข้อมูลตามช่อง PDCA นั้น อาจจะดู Sub-Criteria ที่สอดคล้อง
ไม่จำเป็นจะต้องนำไปใส่ทั้งหมด
-        แนวทางการประเมินนั้น ดูตามสถานการณ์ / ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทางทีมประเมินจะลงพื้นที่ไประเมินซึ่งใช้ดุลพินิจและองค์ประกอบที่สำคัญจากผลงานเพื่อเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนด้วย
-        ตามหลักการของ AUN-QA นั้น จะประเมินให้คะแนนไล่ตามกิจกรรม (ดูเอกสารเกณฑ์ประเมิน AUN-QA ประกอบ)
-        เบื้องต้นทดลองทำการประเมินตามแบบ AUN-QA ที่มีเกณฑ์ 111 ข้อ หรืออีกทางเลือกคือ การลดเกณฑ์การประเมินลง โดยคำนึงถึงเกณฑ์ที่สำคัญไว้ไม่นำเกณฑ์มาใช้ทั้งหมด
-        ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ.ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์ จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอว่า อาจจะไม่ต้องใช้ PDCA มากำหนดในทุก ๆ หัวข้อ เพราะมิเช่นนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการวางแผนและการดำเนินงานค่อนข้างนาน
-        ทั้งนี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ได้อธิบายให้ที่ประชุมเข้าใจร่วมกันว่า ตามกรอบการดำเนินงานนั้น ไม่ได้มีการทำ PDCA ในทุก ๆ เกณฑ์อยู่แล้ว เป็นการคัดเลือกเกณฑ์ที่สำคัญในแต่ละ Block นำมาทำ PDCA
-        ระยะเวลาในการเตรียมแผน ออกแบบประเมิน และลงพื้นที่ประเมินผล มีระยะเวลาสองเดือนเพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้นทั้งหมด 47 อำเภอ จาก 5 จังหวัด ทั้งนี้ต้องมาวางแผนงานเพื่อกระจายทีมงานลงพื้นที่ไปประเมิน เบื้องต้นในที่ประชุมเสนอ ดังนี้
1.     มอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและนักวิชาการในแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมิน การคัดเลือกทีมงาน หรือสรรหาทีมนักวิชาการนอกพื้นที่มาเป็นทีมงาน
2.     เสนอให้มีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นทีมงานทั้ง 5 จังหวัด
3.     นักวิชาการในแต่ละจังหวัด มิควรประเมินผลอำเภอที่ตนเองอาศัยอยู่ หรือ ภูมิลำเนาเดิม
4.     การดำเนินงานประเมินผล ภายใน 2 เดือนนี้ จะมีงบประมาณในการดำเนินงานอำเภอละ 20,000 บาท 

- เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทาง รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เสนอให้มีการตัดทอน Criteria ในแต่ละ Block ลดลง เพื่อให้ทีมประเมินได้ลงพื้นที่ไปดำเนินงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดได้
- ทางด้าน นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก มองว่า ให้ยึดเป้าหมายในการดำเนินงานมากกว่าให้ความสำคัญกับเครื่องมือ ฉะนั้น จึงเห็นด้วยที่จะมีการลด Criteria ลง ทั้งนี้จะรับนำกลับไปปรับปรุงใหม่เพื่อให้มีความกระชับและเข้าใจร่วมกันมากขึ้น
- นอกจากนี้ในที่ประชุมเสนอว่า ให้มีการเขียนตารางขึ้นมาใหม่ โดยให้มีการอธิบายในคุณลักษณะในแต่ละ Block เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย กำหนด PDCA ขึ้นมา และมีหลักเกณฑ์การประเมิน 5 หรือ 7 ระดับในช่องถัดไป
- ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการร่วมให้ข้อมูลเมื่อทีมประเมินลงไปทำการประเมินในพื้นที่นั้น ประกอบไปด้วย กลุ่ม พชอ.แต่ละอำเภอ โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน สสอ. รพ.สต. และผู้นำชุมชน เป็นต้น เนื่องจากจะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของทีมประเมิน รวมถึงสามารถมองภาพรวมระบบสุขภาพระดับอำเภอ และพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
- ลักษณะและรูปแบบการจัดการประเมินนั้น อาจจะเป็นการนำไปเข้าร่วมบูรณาการในเวทีประชุมของอำเภอนั้น ๆ หรือการกำหนด/นัดหมายโดยเฉพาะ เป็นต้น
- หลังจากมีการลงพื้นที่ไปทำการประเมินผลในแต่ละอำเภอครบทั้ง 47 อำเภอแล้วให้มีการนำข้อมูลมานำเสนอร่วมกันโดยเชิญผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนรวมทั้งวางแผนในการขับเคลื่อนงานต่อไป
- แนวทางด้านการประชาสัมพันธ์มีแนวทางที่จะเสนอให้ทางกรมประชาสัมพันธ์เข้ามารับรู้เรื่องราวในการดำเนินงานเพื่อนำข้อมูลที่เป็นรูปธรรมนำไปประชาสัมพันธ์ในวงกว้างต่อไปด้วยเช่นกัน


... ... ... ... ...