รายงานการประชุมเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ประเมินผลและ ติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ(ทีมผู้ประเมินระดับจังหวัด) ( อ่าน 219 )


รายงานการประชุมชี้แจงการลงพื้นที่ประเมินผล และติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563 เวลา 08.30 น. - 14.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 4 ห้อง CC2-414 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 

              

การประเมินผลและการติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
o  ระยะที่ 1 ได้ดำเนินเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 
o  ระยะที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2563 การประเมินในครั้งนี้เพื่อการพัฒนา และเพื่อให้ทราบสิ่งที่ต้อง  พัฒนาเพิ่มเติม 
o  ระยะที่ 3 ช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2563
การประเมินระยะที่ 2
วัตถุประสงค์
1.     เพื่อประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ประกอบด้วย 
-       ผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอปี 2561 – ปี 2562
-     การพัฒนาตามข้อเสนอแนะ ข้อค้นพบ ที่ได้จากการประเมินพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ในครั้งที่ 1
-       รายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในครั้งที่ 2 ตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภองวดที่ 2
2.     แจ้งพื้นที่ทั้ง 47 อำเภอ ในการเข้าร่วมงาน DHS Forum สิ่งที่ผู้ประเมินต้องแจ้งผู้รับการประเมิน
3.     แจ้งการเข้าร่วมงาน DHS forum ผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย
-        คณะกรรมการพชอ.อำเภอละ 21 คน
-        คณะกรรมการบริหารโครงการ DHS
-        ทีมผู้ประเมินระดับจังหวัดทั้งหมด 5 จังหวัด และผู้ประเมินจากโครงการฯ
-        ทีมสื่อมวลชน
-        คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 (กขป.เขต 2)
-        อสม.จังหวัดพิษณุโลก
-        ตัวแทนจากเขตสุขภาพที่ 3 ทั้งหมด 5 จังหวัด (กำแพงเพชร,พิจิตร,นครสวรรค์,อุทัยธานี,ชัยนาท)
จัดทำบูธ (poster presentation) แสดงผลงานการทำโครงการแต่ละประเด็นที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน (ทางโครงการสนับสนุนการจัดทำบูธ บูธละ 4,000 บาท ทั้งหมด 47อำเภอ)
         เตรียมตัวนำเสนอ oral presentation รวมกับการตอบคำถาม (ไม่เกิน 20 นาที) เกี่ยวกับการนำแนวคิด Six Building Blocks Plus One ไปใช้ให้ครบทั้ง 7 หมวด ในประเด็นสุขภาพที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน
         เตรียมชุดการแสดงจังหวัดละ 1 ชุด (ไม่เกิน 15 นาที)
         นำคะแนนการประเมินมาเป็นผลการประกวดรางวัลอำภอที่มีผลการดำเนินงาน Six Building Blocks Plus One ระดับดีเยี่ยม ดีมาก และดี รวมทั้งหมด 47 รางวัล แบ่งเป็น
o  รางวัลอำเภอที่มีผลการดำเนินงาน Six Building Blocks Plus One ดีเยี่ยม จำนวน 5 รางวัล (จังหวัดละ 1 รางวัล)
o  รางวัลอำเภอที่มีผลการดำเนินงาน Six Building Blocks Plus One ดีมาก จำนวน 10 รางวัล (จังหวัดละ 2 รางวัล)
o  รางวัลอำเภอที่มีผลการดำเนินงาน Six Building Blocks Plus One ดี จำนวน 32 รางวัล
ข้อเสนอแนะในการจัดงาน DHS Forum
         เลือกอำเภอที่โดดเด่นในการเชื่อมโยงของทั้ง 7 หมวด มานำเสนอในงาน DHS Forum เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน
ทั้งในส่วนของในเขตสุขภาพที่ 2 และนอกเขตสุขภาพที่ 2 นำไปเป็นแบบอย่างและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
         เปลี่ยนแปลงชื่อกิจกรรม poster presentation เป็น มหกรรมสุขภาพอำเภอ
การลงพื้นที่เพื่อประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอระยะที่ 2
         พื้นที่นำเสนอตามประเด็นสุขภาพที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการ และนำเสนอ
ความเชื่อมโยงให้ครบทั้ง 7 หมวด พร้อมแสดงหลักฐานในแต่ละหมวดให้ชัดเจน เช่น คำสั่ง สรุปรายงาน
การประชุม รูปภาพ workflow เป็นต้น
เกณฑ์การประเมินระบบสุขภาพอำเภอ
         เนื่องจากเกณฑ์การประเมินบางข้ออาจจะเกิดการตีความแตกต่างกันไป จึงยกตัวอย่างเกณฑ์
การประเมินที่พบปัญหาในการให้คะแนนการประเมิน ดังนี้
หมวดที่ 1 ระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำ 
         การกำหนดทิศทางของะบบสุขภาพอำเภอ พื้นที่มีที่มาของแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและมีแผนสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ขัดแยงต่อนโยบาย
         การออกแบบระบบในอำเภอ พื้นที่มีระบบงานที่เชื่อมโยงกันทั้ง 7 หมวด
         การบริหารจัดการในภาพรวมของอำเภอพื้นที่มีการขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอตามทิศทางนโยบาย  เช่น การวางแผนประชุม  รายงานการประชุม ภาพถ่ายการประชุม เป็นต้น
หมวดที่ 3 กำลังด้านสุขภาพ 
หากสอบบถามและดูจากรายงานของพื้นที่จะพบว่ากำลังคนไม่เพียงพอต่อการทำงาน แต่การทำงานสามารถประสบความสำเร็จด้วยหน่วยงานอื่นมามีส่วนร่วม ดังนั้น ในหมวดนี้หากมองที่จำนวนกำลังคนอาจจะไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้น การลงพื้นที่เพื่อประเมินผล และติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอระยะที่ 2 จะให้แต่ละพื้นที่นำเสนอ 1 ประเด็น เชื่อมโยงให้ครบทั้งหมด 7 หมวด และผู้ประเมินสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การลงพื้นที่เพื่อประเมินผลและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอระยะที่ 3
เพื่อประเมินตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามที่โครงการฯระบุ ดังนี้ 
ตัวชี้วัดเชิงระบบ
1.   คุณภาพของกรอบระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ ที่กำหนดการเชื่อมโยงถึงกลไลระดับจังหวัด และเขตบริการสุขภาพสามารถวัดได้จากเกณฑ์ประเมินระบบสุขภาพอำเภอ Six Building Blocks 
Plus One
2.   ร้อยละของอำเภอที่สามารถพัฒนาเชิงระบบจนผ่านเกณฑ์ระบบที่พึงประสงค์ไม่น้อยกว่า 4 ใน 7 ระบบย่อย (50% เมื่อสิ้นปีที่ 2 และ 100% เมื่อสิ้นปีที่ 3) สามารถวัดได้จากเกณฑ์ประเมินระบบสุขภาพอำเภอ Six Building Blocks Plus One ผ่านเกณฑ์ 4 ใน 7 หมวด
3.   ศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่สำคัญ (เพิ่มขึ้น)ในภาคสาธารณสุข และนอกสาธารณสุขสามารถวัดได้จากการรับรู้และเข้าใจการมีส่วนร่วม
4.  ระบบติดตาม กำกับ และประเมินผลในการพัฒนา DHS และผลลัพธ์ในระดับอำเภอ จังหวัด 
และเขตบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นนโยบายของจังหวัดอแต่ละจังหวัดจึงมีวาระการประชุมประจำเดือนทุกเดือน เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการทำงานของคณะกรรมการ พชอ.
5.   จำนวนประเด็นที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนา(ไม่น้อยกว่า 5 ประเด็น) ในส่วนของตัวชี้วัดเชิงระบบข้อนี้หากหมายถึง 5 ประเด็นต่ออำเภอออาจจะมากเกินไป ควรปรับเป็น 
3 ประเด็นต่ออำเภอ หรือจังหวัดละ 1 ประเด็น ทางโครงการฯ สอบถามข้อมูลเพื่มเติมจาก สสส.
6.   ร้อยละความสำเร็จตามเป้าหมายสำคัญด้านสุขภาพของอำเภอเป้าหมาย (80%) สามารถวัดได้จากการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอตามแผนที่ได้รับงบประมาณจากโครงการ
7.   ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ health issue ที่เกิดผลจาการพัฒนาเชิงระบบที่เชื่อมโยงทุกระดับ
ตัวชี้วัดเชิงประเด็นที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ
1. พัฒนาการเด็ก
2. NCD
3. สูงอายุ ADL
         ตัวชี้วัดเชิงประเด็นที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพไม่ตรงประเด็นกับการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
แต่สามารถวัดผลทางอ้อมที่สอดคล้องกันได้
ดังนั้น การลงพื้นที่เพื่อประเมินผล และติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ระยะที่ 3 จะเป็นการลงพื้นที่เพื่อให้ตอบตามตัวชี้วัดที่โครงการฯ กำหนด โดยแต่ละพื้นที่อาจจะนำเสนอ
ความเชื่อมโยงของทั้ง 7 หมวด มากกว่า 1 ประเด็น เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการฯ
จากการวางแผนลงพื้นที่เพื่อประเมินผล และติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพอำเภออีก 2 ครั้ง ผู้ประเมินระดับจังหวัดจึงของบประมาณจากโครงการฯ เพื่อจัดประชุมเตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ก่อนการประเมินและหลังการประเมิน เพื่อคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ โดยจัดประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน ผู้เข้าร่วมประชุมคือ ผู้รับการประเมินแต่ละอำเภอและผู้ประเมินระดับจังหวัด เพื่อให้ผู้รับการประเมินเข้าใจวัตถุประสงค์และแนวทางการประเมินเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


...