รายงานสรุปการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพด้าน DHS สำหรับอนุกรรมการพชอ.ร่วมกับ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 ( อ่าน 310 )


รายงานสรุปการประชุม
การพัฒนาพัฒนาคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 2  
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 วันที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะอิมพลีเรียล โฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 
 


กล่าวต้อนรับ ชี้แจงที่มาและความสำคัญของโครงการ
โดย รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์
            สำหรับเวทีในวันนี้ ถือเป็นการต่อยอดจากการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะอนุกรรรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยเป็นครั้งที่สอง จากการอบรมในครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 
ณ โรงแรมเดอะปาร์ค พิษณุโลก โดยการอบรมครั้งนี้ ได้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 (กขป.) มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเช่นกัน เพราะจะเป็นการนำไปสู่การบูรณาการการทำงานในพื้นที่ต่อไป
ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ ในบางพื้นที่อาจจะมีการร่วมการและขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ร่วมกันอยู่แล้วเช่นกัน


            ทั้งนี้ในฐานะที่ รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เป็นประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 
เล็งเห็นว่าการอบรมพัฒนาศักยภาพครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 อย่างมาก นอกเหนือจากการได้มาร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจ Six Building Blocks Plus One 
แล้วยังถือได้ว่าเป็นโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับคณะอนุกรรมการ พชอ. 
เพราะหาโอกาสได้น้อยมากที่จะพร้อมกันทั้ง 47 อำเภอ     
 
 
การบรรยาย “ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (HIS to DHS)”
 โดย นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก


ระบบสารสนเทศสุขภาพ หรือ HIS (Health Information System) ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ให้มีประสิทธิภาพ โดยปกติเรื่องระบบสุขภาพที่ผ่านมามองว่าเพียงแค่ไม่เจ็บไม่ป่วย สุขภาพร่ากายแข็งแรงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้สุขกันทั้งอำเภอจะมองในแบบองค์รวมโดยไม่เจ็บไม่ป่วย สุขภาพกายใจ สังคม สิ่งแวดล้อม จิตวิญญาณ และสติปัญญาแข็งแรงดี เป็นสุขโดยแท้จริง 
ไม่ใช่สุขเทียม ดังนั้นปฐมบทต้องมีข้อมูล โดยการมีข้อมูลถือเป็นเรื่องหนึ่งของ HIS ถ้าเราจะพัฒนาตามแบบ Six Building Blocks Plus One จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูล (ประเด็น/พื้นที่)


            เมื่อได้ข้อมูล ประเด็นเนื้อหา หรือสภาพปัญหาของแต่ละอำเภอแล้วจะเข้ามาสู่ Block ที่ 1 
คือ Governance หรือเรียกว่า อภิบาลระบบ ที่จะประกอบด้วย นโยบาย การขับเคลื่อน การติดตาม 
และการประเมินผล จากนั้นส่งต่อไปที่ Block ที่ 2 คือ Service หรือเรียกว่า ระบบบริการ ซึ่งมี Block ที่ 3-6 ได้แก่ Work Force system ระบบการใช้ยาฯ ระบบการเงินการคลัง และ ระบบข้อมูล (Information) 
ครอบเป็นเสาค้ำยันให้ระบบบริการเข้มแข็ง เมื่อทั้ง 6 Block มีการส่งผ่าน เชื่อมร้อยกันแล้ว ข้อมูลจะส่งกลับไปสู่ระบบ Input ข้อมูลไหลเวียนเป็นวัฏจักรอีกครั้ง แต่กระนั้นสังคมไทยมองว่าระบบสุขภาพชุมชน
มีความสำคัญทางโครงการจึงได้เพิ่มระบบสุขภาพชุมชนขึ้นมาอีกเป็นบล็อคที่ 7 ขึ้นมาอีกหนึ่งประเด็น
นอกจากนี้ข้อมูลต้องมีการเชื่อมโยงกันและกัน ทั้งในหน่วยงานสาธารณสุขและนอกสาธารณสุข
ที่สำคัญข้อมูลจากชุมชน เมื่อได้ข้อมูลมาจึงเข้าสู่ระบบสุขภาพที่เป็นโมเดลวัฏจักรข้างต้น


สำหรับ โครงการศึกษาการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสุขภาพของระบบสุขภาพอำเภอในประเทศไทย
มีวัตถุประสงค์การศึกษา ดังนี้
1.     เพื่อศึกษาระบบสารสนเทศสุขภาพ (Health Information Systems) ที่มีอยู่ในปัจจุบันของระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) ในประเทศไทย 
2.     วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของระบบสารสนเทศสุขภาพในระดับปฏิบัติงาน (Operation Information System) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Executive Information System)
3.     เพื่อศึกษาการตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศสุขภาพในระดับปฏิบัติการ (User) และผู้บริหารในการนำสารสนเทศไปบริหารจัดการและบริหารงานด้านระบบสุขภาพ (Health Systems)  
4.     เพื่อศึกษารายละเอียดของแต่ละ Software ในกระบวนการข้อมูลความเชื่อมโยงของแต่ละ Software และการประมวลผลร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศสุขภาพ
5.     เพื่อศึกษาถึงค่าใช้จ่ายในแต่ละปีของแต่ละโรงพยาบาลในการใช้ไปในเรื่องของระบบสารสนเทศสุขภาพ

แผนลงพื้นที่เดือนกุมภาพันธ์ 2563


การบูรณการการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
 
ประธาน            รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม  ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร  
ประธานร่วม      รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร 
วิทยากร            1. ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง
2. คุณปริญญา บุญชัย
3. นายแพทย์รัฐภูมิ ชามพูนท
4. นายศรศักดิ์ สีหะวงษ์  
สำหรับเวทีเสวนาในช่วงนี้จะเป็นการนำเสนอในเรื่องการจัดการข้อมูล ที่จะนำไปสู่การบูรณาการ
การเชื่อมต่อฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยและเข้าถึงการใช้งานได้อย่างสะดวกตามยุคสมัย 4.0 โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานในโครงการนี้ ผู้ดำเนินการเสวนาช่วงนี้ คือ รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ 
 
ข้อคำนึงของการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ:
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ  แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
         สิ่งที่ให้ความสำคัญต่อการบูรณาการการเชื่อมต่อฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1.     ประการแรก คือ ข้อมูลต้องมีความปลอดภัยตรงตามความต้องการยอมรับได้ 
2.    ประการที่สอง คือ ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบสุขภาพอำเภอ จะต้องรับรู้รับทราบ
มีความเกี่ยวข้องและปฏิบัติได้จริง ใช้ง่าย และมีความเสถียรภาพ
3.     ประการที่สาม คือ ความคุ้มค่าคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ เชิงเทคนิคการออกแบบ และมีประสิทธิภาพ  
นอกจากนี้ทางคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีแนวทางที่มุงเน้นในการพัฒนาคน
ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพโดยการส่งนิสิตไปศึกษาในพื้นที่จริง/โจทย์ปัญหาจริง (Block Chain) 
และมีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนิสิตเด็กจบไป แต่อาจารย์ที่สอนเก่งขึ้น และปักหลักอยู่ในมหาวิทยาลัยเพื่อถ่ายทอดสู่นิสิตใหม่ๆที่เข้ามา  
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ: ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
            สำหรับ Six Building Blocks Plus One นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ข้อมูล รวมถึงการวางแผนที่ชัดเจน
ในการนำข้อมูลมาช่วยและมีความเกี่ยวข้องกับทุกบล็อก ความสำคัญในการใช้ข้อมูลในปัจจุบัน
เราให้ความสำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่  การวัด IOT ระบบ AI Big Data
ขณะนี้ได้มีการพัฒนา Mobile Application เกิดขึ้นและทดลองใช้ในจังหวัดพิษณุโลก โดยที่ได้มีการพัฒนาร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ แอปพลิเคชัน “หมอรู้จักคุณ” ทั้งนี้ ในฐานะผู้ใช้เครื่องมือหรือ แอปพลิเคชันเบื้องต้นอาจจะเป็นกังวลในการใช้งาน กรณีที่มีปัญหาหรือไม่เข้าใจสามารถส่งข้อสงสัยกลับมาที่ทีมพัฒนาได้ 
แอปพลิเคชัน หมอรู้จักคุณ: อ.ปริญญา บุญชัย  
            เริ่มต้นให้ผู้เข้าร่วมได้ชมที่มาที่ไปของการเกิดแอปพลิเคชัน และข้อมูลการใช้งานโดยแอปพลิเคชันหมอรู้จักคุณนั้นมี 4 ระดับ คือ 
1.     หมอรู้จักคุณ สำหรับประชาชนทั่วไป (เฉพาะจังหวัดพิษณุโลก) เป็นข้อมูลการรักษาพยาบาล (ประวัติ)
2.    หมอรู้จักคุณ สำหรับ อสม. ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ถือเป็นเครื่องมือในการ
ช่วยเก็บข้อมูล ตามภารกิจของ อสม.
3.     หมอรู้จักคุณ สำหรับคลีนิคหมอครอบครัว/พยาบาล สามารถค้นหาข้อมูล ID ของประชาชนได้
4.    หมอรู้จักคุณ สำหรับผู้เชี่ยวชาญฯ NUMED ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลภาพรวมได้ 
การติดตามประชาชนในเขตเมืองพิษณุโลกได้ ทั้งนี้ สามารถนำข้อมูลทั้งหมดนี้ไปประยุกต์ใช้ 
หรือสามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ 
ทั้งนี้ ข้อมูลสามารถเข้าไปดูในอินเตอร์เน็ตได้ สำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ถือเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความรวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ และถือเป็นการนำร่องในการใช้เครื่องมือเฉพาะจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นต้นแบบต่อไปสำหรับพื้นที่จังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบแอปพลิเคชันนี้ทำออกมาเพื่อรองรับเครื่องมือที่ราคาไม่แพง ใช้ได้ง่าย รวมถึงในพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ยังสามารถใช้งานได้
สำหรับเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ เราหนีไม่พ้นที่จะต้องเรียนรู้และใช้งาน ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ หรือมีบุคลากรที่ลงไปทำความเข้าใจให้กับกลุ่มคนที่ต้องใช้งาน/กลุ่มเป้าหมาย 
เพื่ออำนวยความสะดวก ทำความเข้าใจให้เห็นถึงประโยชน์ของเครื่องมือ/แอปพลิเคชัน ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชัน NU MORE ที่ทำออกมาให้นิสิต ม.นเรศวร ได้ใช้งานจริงที่มีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวนิสิตเอง   
“Health Information management system” HMIS: นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
            ที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขให้ความสำคัญในการรักษามากจนเกินไป ฉะนั้น ตอนนี้กลับมาคิดกันใหม่ ที่มองในเรื่องของการส่งเสริมและการป้องกันโดยมองว่า HMIS = HIS + MIS   
            ทั้งนี้ ถ้ากรณีที่ได้ข้อมูลที่ผิดเข้ามา ผลผลิตที่ออกไปจะได้ข้อมูลที่ผิดไม่ถูกต้องเช่นกัน โดยต่อไปจากนี้ ต้องมีการไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ว่ามีการจัดเก็บจัดการอย่างไรใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมเพื่อที่จะสามารถทำให้รู้ว่าข้อมูลแต่ละภาคส่วนมีอะไรบ้าง ซึ่งจะสามารถนำไปบูรณาการเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
            กล่าวโดยสรุปคือ ทุกท่านในที่นี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในชุมชนสังคมใช้เทคโนโลยีให้เป็นและถูกต้อง
นายศรศักดิ์  สีหะวงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
ปัญหาการใช้งานที่ผ่านมา ทั้งมีอยู่เดิม และพัฒนาใหม่ ซึ่งมี 3 ส่วนดังนี้
1.    Peopleware (คน 2 กลุ่ม คือ Developer และ User) ฝั่งของ Developer ที่ผ่านมาไม่มีคนพัฒนาต่อ 
หรือทำแอปพลิเคชันที่มารองรับความต้องการ และที่สำคัญคือ กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีการ
เพิ่มอัตรากำลังผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เข้ามา สำหรับในฝั่งของ User ปัญหาที่พบคือ เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่มีความรู้ความเข้าใจ นอกจากนี้การเรียนรู้ของช่วงวัยปรับตัวไม่ทัน
ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ยกตัวอย่างปัญหาจริงที่พบในพื้นที่ คือ อสม.ลาออกเนื่องจากใช้เครื่องมือ/แอปพลิเคชันไม่เป็น     
2.     Hardware (อุปกรณ์) ปัญหาที่พบคือการจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ 
3.     แอปพลิเคชัน/software ได้แก่ บางพื้นที่มีความซ้ำซ้อน บางพื้นที่ไม่มีการพัฒนา รวมถึงการไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน  
 
 
สิ่งที่อยากเห็นในอนาคต
1.     Cloud Service ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย  
2.     Application เป็น One application หรือ Total Application หรือ การนำระบบ AI มาช่วยใน
การทำงาน เป็นต้น
แนวทางที่ทีมวิชาการจะลงพื้นที่ไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องของการใช้โปรแกรม โดยมีแนวทางหาข้อมูล
ที่ต้องการทราบในปัจจุบันว่าระบบสุขภาพแต่ละอำเภอได้ใช้โปรแกรมอะไร มีแนวทางในการเก็บข้อมูลอย่างไร ปัญหาที่พบมีอะไรบ้าง
            โดยหน่วยงานสาธารณสุขของเรานั้น มีองค์ความรู้แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเชื่อมร้อย
กับองค์กร หน่วยงานอื่นๆ ที่สามารถนำความรู้ของเราไปพัฒนาเครื่องมือหรือแอปพลิเคชันต่อไปได้ ที่สำคัญจำเป็นจะต้องมีงบประมาณรองรับด้วยเช่นกัน
เปิดวงแลกเปลี่ยนและซักถาม
-    ร.ต.ต.สุขสัณห์ ภิชัย รองประธาน กขป.เขต 2 มองว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากต่างประเทศเริ่มมีการนำมาใช้กันแพร่หลาย โดยมองว่าเราจะทำอย่างไรในการสื่อสารให้กับสังคมได้รับทราบ ทั้งนี้ จะเริ่มมีการระดมสรรพกำลังงานด้านสื่อที่จะเชื่อมร้อยมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ 
เพื่อสื่อสารข้อมูลในเรื่องนี้ต่อไป  
-    จอมชัย คงมณีกาญจน์ กขป. เขต 2 ในฐานะที่กำลังดำเนินการด้านสุขภาวะผู้สูงอายุ จึงเสนอ
ในเรื่องการส่งเสริมความรู้ระบบไอทีที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญต่อระบบสุขภาพผู้สูงอายุ
-    ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร เสนอว่า จากการที่มีประสบการณ์งานด้าน HIA และ CHIA พบว่า การพัฒนาเทคโนโลยีที่น่าสนใจและต้องพัฒนามาใช้กับคนในสังคมชุมชนนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ชุมชนรับรู้ได้โดยเฉพาะปัญหาหรือผลกระทบต่อสุขภาพของคน
ในชุมชนจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และที่สำคัญการได้มาซึ่งข้อมูลจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนต้องมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
 

กิจกรรมกลุ่มการระดมสมองเพื่อนำแผน/มาตรการสู่การปฏิบัติในการแก้ปัญหา สุขภาพในประเด็นต่างๆ
            นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้มาดำเนินกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงนี้ ซึ่งได้เสนอว่าให้ผู้เข้าร่วมทดลองทำและเรียนรู้ Six Building Blocks Plus One โดยเบื้องต้นให้คำนึงในเรื่อง “มาตรการแนวทาง” นำไปสู่การทำ “กิจกรรม” 
            ทั้งนี้สำหรับคณะอนุกรรมการฯ พชอ. ทั้ง 47 อำเภอ ที่เคยมาร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพในครั้งที่ 1 
ให้ทำการต่อยอดเดิมจากครั้งที่ 1 ในการทดลองทำกลุ่ม โดยให้เพิ่มในเรื่องของมาตรการและกิจกรรม
ของแต่ละภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ทางกลุ่มนำมาเป็นประเด็นทดลองใน Six Building Blocks Plus One สำหรับการอบรมพัฒนาศักยภาพครั้งที่ 2 นี้ ได้มีประเด็นร่วมแลกเปลี่ยน จำนวน 5 ประเด็นเช่นเดิม ได้แก่ 
1.     การดูแลผู้สูงอายุ 
2.     การป้องกันการบาดเจ็บทางถนน 
3.     อาหารปลอดภัย 
4.     การป้องกันยาเสพติด
5.     การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

ประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ
สำหรับผู้สูงอายุ ได้มีการคัดเลือกในกลุ่ม โดยเลือกประเด็น “การจัดการและปรับสภาพแวดล้อม
ภายในบ้านที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (อารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ)”
มาตรการ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ
-              ห้องน้ำที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
-              ทางราดเอียง
-              ห้องนอนที่ปลอดภัย
-              ราวบันไดจับที่มั่นคงและมีมาตรฐาน
กิจกรรม
1.     สำรวจข้อมูลในชุมชน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ
2.     จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุที่ต้องการแก้ไขปรับปรุง/ลำดับความสำคัญ
3.     จัดหางบประมาณ/แหล่งทุน (อปท./เอกชน)
4.     ดำเนินการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ ตามงบประมาณและตามลำดับความสำคัญในทะเบียน 
5.     จัดอบรมเรื่องที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ
6.     ปรับปรุงบ้านต้นแบบผู้สูงอายุ
เป้าหมาย
-              บ้านผู้สูงอายุทั้งในพื้นที่ ร้อยละ 80 ของบ้านผู้สูงอายุได้รับการสำรวจ และ ร้อยละ 100 ของบ้าน
ที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการปรับปรุงแก้ไข
-              สำหรับการอบรมต้องเชิญมาทุกครัวเรือน
-              บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หลังต่อชุมชน ในระดับ อปท. มีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1หลัง
ผู้รับผิดชอบ
-              อปท. / อพม. / อสม. / รพ.สต.
-              ประชาชนในชุมชน
-              ผู้นำชุมชน
-              ภาคีเครือข่ายอื่นๆในชุมชน (ปราชญ์ชาวบ้าน/แกนนำภาคประชาชน) 

 
ประเด็นการแก้ปัญหายาเสพติด “มาตรการ 3 ก. 3 ย.”
3 ก. คือ
1.     กรรมการ 
2.     กองทุน 
3.     กิจกรรม
3 ย. คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างกระแส 
กิจกรรมได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรม TO BE NUMBER ONE การสร้างบุคคลต้นแบบ การประกวด 
To Be Idol , Teen Dance โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชน ในสถานศึกษาภายในเขตอำเภอ ผู้รับผิดชอบ
คือ สาธารณสุข สถานศึกษา และ อปท.  
 
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน 
กิจกรรมได้แก่ การอบรมเยาวชน ค่ายทักษะชีวิต และอบรมนักเรียนสถานศึกษา เป็นต้น 
โดยได้กลุ่มเป้าหมายมาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและคัดกรอง ผู้รับผิดชอบคือ ท้องถิ่น ปกครอง 
และคุมประพฤติ  
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างและขยายเครือข่าย 
กิจกรรม คือ การค้นหากลุ่มเสี่ยง มาตรการทางสังคม การคัดกรอง และการรักษา โดยผู้รับผิดชอบ
เป็นปกครองอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่น และตำรวจ    
เป้าหมาย 
-              ลดผู้เสพรายใหม่
-              ป้องกันการกลับมาเสพซ้ำ


ประเด็นการป้องกันการบาดเจ็บทางถนน
ปัจจัยที่จะนำเข้า โดยใช้ข้อมูล มา 3 ส่วน จาก ตำรวจ บริษัทกลาง และสาธารณสุข 
โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และ ผู้สูงอายุ ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ผู้ปกครอง ครู ตำรวจ ผู้นำชุมชน สาธารณสุข วิทยุชุมชน อปท. วัด มาตรการ มีดังนี้
1.     มาตรการเมาไม่ขับ มีกิจกรรม คือ การรณรงค์ให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ หอกระจายข่าวหมู่บ้าน  
2.     มาตรการทางกฎหมาย กิจกรรมคือ รณรงค์ให้ความรู้ทางกฎหมาย เช่น กฎจราจร การสวมหมวกนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัย การวัดปริมาณแอลกอฮอล์ เป็นต้น
3.     มาตรการทางสังคม กิจกรรม เช่น การประชาคมหมู่บ้าน การทำธรรมนูญหมู่บ้าน การสุ่มตรวจร้านค้า
4.     รถปลอดภัย มีการตรวจสอบสภาพรถ ป้องกันรถซิ่ง/รถแต่ง รถไม่พร้อม 
5.     ถนนปลอดภัย กิจกรรม เช่น การสำรวจ การวิเคราะห์ ชี้เป้า แก้ไข และการติดตามผล
6.     จัดระเบียบสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาหมอกควัน ต้นไม้ข้างทาง หลุมบ่อ และเส้นจราจร เป็นต้น
 
 
ประเด็นการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
มาตรการและแนวทาง
-              อปท./ท้องถิ่น มีการรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน
-              การประชุมชี้แจง/ประสานงาน/M&E/MOU
-              จัดหาภาชนะคัดแยกขยะ กำจัดตามบริบท
กิจกรรม
-     การรณรงค์การคัดแยกขยะ การจัดทำธนาคารขยะ และส่งเสริมโรงเรียนสีขาวปลอดขยะ ทั้งนี้
ในส่วนของสาธารณสุข ต้องมีการคัดแยกขยะติดเชื้อและขยะอันตราย ทั้งในชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุข ส่วนนอกหน่วยงานสาธารณสุข อปท. ต้องรับผิดชอบในการกำหนดจุดทิ้ง รวมถึง
การจัดการที่เป็นระบบ
-              กฎหมายควบคุม โดยการประกาศใช้ข้อบังคับ หรือ ข้อบัญญัติ 
-              มาตรการทางสังคม โดยการสนับสนุนให้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน และมีสิทธิในการเข้าถึงกองทุนในชุมชน 
-              การทำ MOU เช่น MOU ขยะติดเชื้อในชุมชน/รพ.สต. เป็นตัน 
-              ค้นหาพื้นที่/ครัวเรือนต้นแบบ/ชุมชนต้นแบบ
 
ประเด็นอาหารปลอดภัย
ส่งเสริมการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบ
 
ที่
กิจกรรม
เป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
1
รวบรวมInformation

ที่เกี่ยวข้อง/จำเป็น
-    ทะเบียนเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีจากเกษตร

-    กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่

-    ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

-    กลุ่มเกษตร/ผู้สนใจเกษตรอินทรีย์

-    ข้อมูลตลาดในพื้นที่/

-    จุดจำหน่าย
-   เกษตรตำบล/ผู้นำชุมชน/ท้องที่/เกษตรอำเภอ

-   สสอ./รพ.สต.

-   สถานศึกษา/โรงเรียน

-   สนง.พัฒนาที่ดิน
2
ตรวจหาสารเคมีตกค้าง

ในเลือดเกษตรกร/ให้ความรู้
กลุ่มเกษตร/ผู้จำหน่าย
สสอ./รพ.สต.
3
ส่งเสริมการจัดทำปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ฯลฯ 

ทดแทนสารเคมีเพื่อลดต้นทุนและลดผลกระทบต่อสุขภาพ
กลุ่มหมอดิน/กลุ่มเกษตรผู้สนใจ และโรงเรียน
สำนักงานพัฒนาที่ดิน เกษตรตำบลและอำเภอ
4
สร้างและค้นหาต้นแบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่/

แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์
หมู่บ้าน/ตำบล
อปท./เกษตรตำบล
5
การศึกษาดูงานต้นแบบเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ
หมู่บ้าน/ตำบล/กลุ่มที่ประสบความสำเร็จ
อปท.
6
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค

เห็นประโยชน์/ทราบแหล่งจำหน่าย
บุคคลต้นแบบ/สถานีวิทยุ/หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน/

Facebookอำเภอที่เป็น

ที่นิยม/กลุ่มLineอำเภอ
/เกษตร/อสม.
สถานีวิทยุ/ผู้ใหญ่บ้าน/สสอ./ที่ว่าการอำเภอ
7
พัฒนาตลาดที่มีอยู่ให้เป็นตลาดปลอดสารพิษและ

ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์
ตลาดต้นแบบตำบลละ 1 แห่ง
นายอำเภอ เกษตรอำเภอ สสอ. เทศบาล/ท้องถิ่น/ท้องที่ 
 
ส่งเสริมการผลิตที่ได้มาตรฐานผลผลิตทางการเกษตร
 
ที่
กิจกรรม
เป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
1
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการทางด้านการเกษตร
-    กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน
-   เกษตรตำบล

-   สสอ./รพ.สต. 

-   ปศุสัตว์

-   ประมง
2
แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์/เกษตรกรต้นแบบ/เกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง
-    เกษตรกร
-   เกษตรตำบล

-   ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่
3
ตรวจสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร
-    ผลผลิตทางการเกษตร
-   เกษตรตำบล

-   อปท.

-   สาธารณสุข
4
ตรวจสอบสารตกค้างในดิน
-    ตัวอย่างดินในพื้นที่สำเร็จ
-   เกษตรอำเภอ

-   กรมวิชาการเกษตร

-   มหาวิทยาลัยในพื้นที่
5
ให้การรับรองวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานGAP,Q,GI เป็นต้น
-    กลุ่มเกษตรที่ผ่านการรับรอง
-   กรมวิชาการเกษตร

-   มหาวิทยาลัย
6
จัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต
 
-   เกษตร

-   ปศุสัตว์
 
การควบคุมมาตรฐานแปรรูปผลิตภัณฑ์
1.     ตรวจสอบตามมาตรฐาน กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การแต่งตั้งทีมตรวจ เป้าหมายคือ โรงงานผลิตน้ำดื่ม 
2.     ตรวจสอบตามมาตรฐาน Primary GMP
กิจกรรม มีดังต่อไปนี้
o  แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สำนักงานเกษตรจังหวัด สภาอุตสาหกรรม สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และประชาสัมพันธ์จังหวัด
o  ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์
§  ออกแบบประเมิน
§  ข้อมูลผู้ผลิต/สถานที่
§  ออกประเมินมาตรฐาน
o  อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ/coaching มาตรฐานผลิตภัณฑ์
o   ส่งผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจคุณภาพมาตรฐาน อย./มาตรฐาน มพช./ควบคุมผลิตภัณฑ์
ที่มีมาตรฐานชุมชน 
o   ประชาสัมพันธ์ช่องทางการตรวจสอบมาตรฐาน อย. ทางออนไลน์/QR code มีนวัตกรรม
ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง 
o  รับเรื่องร้องเรียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์/คบส.  
ควบคุม/ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร (สารปนเปื้อน)
1.     ควบคุมกำกับการใช้สารปนเปื้อนให้ได้มาตรฐาน ณ แหล่งผลิต เป้าหมายคือ เกษตรกรและประชาชนรายย่อย ผู้รับผิดชอบคือ เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ สสอ. อปท. และชุมชน
2.     ตรวจสอบ/ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหาร ได้แก่ ตลาดสด/ตลาดนัด/ร้านชำ/แผงลอย/ห้างสรรพสินค้า ผู้รับผิดชอบ คือ สาธารณสุข อปท. ปกครอง ผู้ประกอบการ และชุมชน
3.     ให้ความรู้และแนะนำผู้ประกอบการให้ผ่านมาตรฐาน ผู้รับผิดชอบคือ อบส.อำเภอ และ เกษตรอำเภอ
ส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโคอาหารที่ปลอดภัย
1.     สำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
2.     คืนข้อมูลสุขภาพ
3.     ให้ความรู้ตามปัจจัยที่พบจากความเสี่ยงของผู้บริโภค/บุคคลต้นแบบ
4.     ออกข้อบัญญัติมาตรการของชุมชนในพื้นที่ เช่น มาตรการ 3 อ. 2 ส. 


ส่งเสริมมาตรการทางสังคมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 
1.     ชุมชนอาหารปลอดภัย ดำเนินการโดย จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน และมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยน เป้าหมายเพื่อประกาศมาตรการชุมชนอาหารปลอดภัย เพื่อเกิดตลาดนัดสีเขียว
ในชุมชน และสารเคมีตกค้างในเกษตรและผู้บริโภคลดลง ส่วนผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนี้ คือ 
เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ อปท. ผู้นำชุมชน และ อสม.
2.           กำหนดนโยบายถนนอาหารปลอดภัย ดำเนินการโดย การสำรวจและขึ้นทะเบียนร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจประเมินตามมาตรฐานให้พัฒนาและตรวจประเมินซ้ำ และการรับรองมาตรฐานโดยมอบป้าย CFGT เป้าหมายคือ เพื่อร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ผู้รับผิดชอบคือ ปกครองอำเภอ เกษตรอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ อปท. ผู้นำชุมชน และ อสม. 

 
สรุปความเห็นโดย นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
            มาตรการบางอย่างมีความเป็นนามธรรมยังไม่สามารถรู้ได้ว่ารูปธรรมเป็นอย่างไร จึงส่งผลทำให้เรา
ไม่สามารถรู้ได้ว่ากิจกรรมควรทำอย่างไร หลังจากที่ฟังการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม พบว่ามีพัฒนาการที่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการกิจกรรมนี้ ส่งผลให้รู้ว่าเราจะทำอะไร ใครควรทำ  
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ร่วมกัน คือ การนำกลับไปเขียนแยกแยะตามภารกิจ
ของแต่ละหน่วยงาน ว่ามีบทบาทภารกิจในการทำกิจกรรมช่วงใดบ้างโดยอาจจะเขียนเป็นรูปแบบแผนปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้อยากให้ทำการบ้านต่อจากนี้ไป ซึ่งแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่เขียนกิจกรรมที่ตอบโจทย์
ในบล็อก Service หรือ ระบบบริการ ฉะนั้นยังเหลืออีก 6 บล็อก จึงอยากให้แต่ละกลุ่มกลับไปทำความเข้าใจและทดลองเขียนออกมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ เพราะถือเป็นการเขียนแผนงานที่ครอบคลุมครบทั้ง 
7 บล็อก โดยมีการกำหนดมาตรการ กิจกรรมที่ชัดเจน และระบุว่าใครเป็นคนทำ (พร้อมระบุช่วงเวลาของ
แต่ละหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม) ช่วงท้ายได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมในเวทีได้ร่วมซักถาม และร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม เพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกันและร่วมถ่ายภาพร่วมกัน เป็นอันเสร็จสิ้นการอบรมในครั้งนี้


... ... ... ... ... ... ... ...