รายงานสรุปอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (อนุกรรมการ พชอ.) ( อ่าน 205 )


รายงานสรุปการประชุม
การพัฒนาคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 2  
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2  วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะพาร์ค  อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 

 

วิทยากรร่วมบรรยายและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ(workshop)
1.     รศ.นพ.ศิริเกษม          ศิริลักษณ์
2.     นายแพทย์ปิยะ           ศิริลักษณ์
3.     เภสัชกร ดร.ทรงศักดิ์     ทองสนิท
4.     เภสัชกรหญิงดวงดาว    วงศ์จำปา
5.     นายฉัตรชัยกานท์         สุขนรินทร์
6.     นางวาสนา               อ้นอินทร์
7.     นางวราภรณ์             จิโน
8.     นายณัฐพงษ์              เฮียงกุล
9.     น.ส.ปาณิสรา             แก้วบุญธรรม
10.  น.ส.สุภาภรณ์             สิงห์จู
11.  นางมาลี                  โชคเกิด
12.  นางมินตราภรณ์          ทิพย์วิชัย
13.  น.ส.วาสนา               กิ่งรัก
14.  นายศิริชัย                 แก้วพวงคำ
15.  นางยศวดี                 บุญแจ้ง
 

กล่าวต้อนรับ ชี้แจงที่มาและความสำคัญของโครงการ
โดย รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์

 
รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ได้กล่าวทักทายกับผู้เข้าร่วมในเวทีครั้งนี้ว่า สำหรับการอบรมพัฒนาศักยภาพ
ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของการอบรมที่ได้มีการเชิญคณะอนุกรรมการพชอ. ทั้ง 47 อำเภอมาอบรม
พร้อมเพรียงกัน และมาร่วมเสริมสร้างความรู้และสิ่งดี ๆร่วมกัน ตลอดจนการทำความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบสุขภาพอำเภอ(DHS)ที่พึงประสงค์ให้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ทางโครงการได้มีการนำหลักการ Six Building Blocks ขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้ โดยนำระบบ “การมีส่วนร่วมของชุมชน” เพิ่มเข้าไป จึงเกิดเป็น Six Building Blocks Plus One ที่มี
ความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือ พชอ. ด้วยเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงเริ่มขับเคลื่อนโครงการในปีแรก ๆ นั้น ได้มีการสื่อสารทำความเข้าใจกับ
ทาง พชอ. มาบ้างแล้ว   
            สำหรับการอบรมพัฒนาศักยภาพในวันนี้จะถือเป็นก้าวแรกของการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับอนุกรรมการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) และถือว่าทุกท่านจะได้รับเครื่องมือ แนวคิด และแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ในพื้นที่ โดย Six Building Blocks Plus One มีเนื้อหาสาระภายใต้แนวคิด “สุขกันทั้งอำเภอ” ซึ่งมีทั้งหมด 7สุขด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1)     สุขอันดับที่ 1: Leadership and Governance สุขจากการมีผู้นำคิดอย่างเป็นระบบร่วมกับผู้นำในทุกระดับ จัดทำระบบที่เชื่อมโยงหน่วยงานย่อยไว้ได้ดี เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มี
ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น รับฟัง และช่วยกันปรับปรุงให้ระบบสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี เช่น เมื่อเกิดโรคระบาดในชุมชนต้องเกิดความชัดเจนในการมาร่วมมือกัน เพื่อแก้ไขสาเหตุมิใช่แค่รักษาคนที่ป่วยเป็นโรคซึ่งเป็นปลายเหตุเท่านั้น
2)     สุขอันดับที่ 2: Service Delivery system สุขจากการที่มีระบบบริการสุขภาพที่ทุกคนเข้าถึงได้มีคุณภาพแต่ค่าใช้จ่ายไม่แพง ที่สำคัญต้องใกล้บ้านและการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
ก็สามารถช่วยพัฒนาระบบนี้ได้ โดยปัจจุบันได้มีการทำแอปพลิเคชันนี้ชื่อว่า “หมอรู้จักคุณ” 
ที่ได้มีการทดลองใช้ในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการดูแลรักษาอื่น ๆทำให้การดูแลในพื้นที่ที่ขาดแคลนแพทย์ทำได้ดีขึ้นเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น การจัดบริการสุขภาพไปจนถึงสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง และเพิ่มขีดความสามารถของ
การบริการสุขภาพในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริม
มาช่วยทำให้การทำงานรวดเร็วมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะระบบ Telemedicine
3)   สุขอันดับที่ 3: Health Workforce สุขจากการมีกำลังคนทั้งจำนวนและสมรรถนะเหมาะสม
กับ service delivery เข้ามาช่วยกันสร้างระบบสุขภาพให้เกิดขึ้นโดยต้องไม่ใช่แค่รอให้หน่วยงานของรัฐส่งแพทย์ พยาบาล มาดูแลคนให้มีสุขภาพดีเท่านั้น เพราะปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ดีต้องให้ประชาชนหรือหน่วยบริการต่าง ๆในอำเภอมาร่วมมือสร้างสุขภาพด้วยกันมองเห็นกำลังคน
ด้านสุขภาพกว้างขวางมากขึ้น เช่น การดึงเอา ตำรวจ นักปกครอง นักการเมืองท้องถิ่น อสม. ครู พ่อค้าจำหน่ายรถจักรยานยนต์/รถยนต์ เป็นต้น มาร่วมกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนถนน
ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวนมาก เป็นต้น 
4)     สุขอันดับที่ 4: Health Information system สุขจากการที่สามารถทำระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะสร้างขึ้นในอนาคตให้สามารถตอบสนองการใช้งานทั้งระดับผู้บริหาร
ที่ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และทั้งผู้ปฏิบัติงานที่ต้องนำไปทำงานจริงในพื้นที่ เช่น 
การที่โรงพยาบาลชุมชน หรือ รพ.สต. มีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างหลากหลาย ยังไม่เชื่อมโยงกันรวมถึงยังนำข้อมูลจากระบบมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ อีกทั้งบางโปรแกรมยังซ้ำซ้อนและมีโอกาสเกิดข้อมูลไม่ตรงกัน หรือ ผิดพลาดได้ง่ายจากมนุษย์ (Human error) ให้สามารถเชื่อมกัน 
ไม่ซ้ำซ้อน นำมาใช้งานได้ทันเวลาและสะดวกง่ายขึ้น 
5)     สุขอันดับที่ 5: Access to Essential Medicines and Health technology สุขจากการจัดการเรื่องสำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในวงกว้าง หรือ สำคัญในแง่ที่อาจจะทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ หรือฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องได้รับการเข้าถึงอย่างทันท่วงที เช่น การจัดการวัคซีน หรือยาจำเป็นให้สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อต้องการใช้จะมีทั้งวัคซีน ยาเวชภัณฑ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ รวมไปถึงเทคโนโลยีการแพทย์ที่สำคัญนั้น เพื่อให้ประชาชนได้ใช้และเข้าถึงได้ทันเวลา
6)     สุขอันดับที่ 6: Health Financing สุขจากการให้ความสำคัญกับระบบการเงิน การคลัง การลงทุน โดยต้องไม่ยึดติดกับการรอรับงบประมาณจากภาครัฐแต่ต้องแสวงหางบประมาณและทรัพยากรจากแหล่งอื่นที่พร้อมสนับสนุนหรืองบประมาณใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การหาความร่วมมือจากหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนทั้ง คน เงิน ของ และการลงทุน ที่เป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน มาร่วมกันเสริมกันตลอดเวลา เช่น งบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องบริหารจัดการโดย อบต. สปสช. งบประมาณจากองค์กรการกุศล บริษัทห้างร้าน วัด โดยต้องมีทีมทำงานเชิงรุกคอยจัดการ เป็นต้น
7)     
สุขอันดับที่ 7: Community Health System สุขจากการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่การออกแบบ การจัดการ ประเมินผล โครงการต่างๆ ที่เป็นของพื้นที่มีสำนึกของความเป็นเจ้าของร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคำนึงถึงระบบใดๆ ที่เริ่มจะมาเกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุมชนจะลุกขึ้นมาร่วมกันคิดคำนึงว่านี่เป็นเรื่องส่วนรวมเป็นของชุมชนจึงต้องช่วยกันดูแลว่าจะมีผลดีผลเสียอย่างไรจะพัฒนาอะไร อย่างไร และต้องร่วมกันคำนึงถึงความสุขส่วนรวมเป็นหัวใจหลักเสมอ
สรุปในเบื้องต้นนี้ถือเป็นการชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่สำคัญของโครงการให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับทิศทางมากขึ้นเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกัน ในการสร้างสุขให้เกิดขึ้นทั้งอำเภอร่วมกันต่อไป 
            
แนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอที่พึงประสงค์(District Health System) ด้วยSix Building Blocks Plus One โดย นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
            ก่อนจะไปถึงเรื่องระบบสุขภาพอำเภอ และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอหรือ พชอ. ต้องมาทำความเข้าใจในจุดเริ่มต้นกันก่อน 
สถานการณ์และเหตุผลที่ต้องจัดการระบบ มีดังนี้
1)     กำลังแรงงานเริ่มลดลง (ปัจจุบันอัตราการมีบุตรเหลือเพียง 1.6 คนต่อคู่แต่งงาน) โดยในอนาคตทำนายได้ว่าจะมีกำลังคนในการทำงานในประเทศชาติลดน้อยลง 
2)     อัตราการพึ่งพิงของประชากร (สังคมผู้สูงอายุ) เพิ่มสูงวัย
3)     การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชนบทไปสู่ความเป็นเมือง
4)     ปัญหาสิ่งแวดล้อม
5)     ความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหาสำคัญ
ฉะนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มส่งเสริมให้ประชาชน “สร้างสุขภาพ” ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้สุขภาพเสียก่อนแล้วถึงมาซ่อมแซมภายหลังซึ่งถึงแม้จะมีการซ่อมสุขภาพแต่ในที่สุดก็ไม่สามารถทำให้สุขภาพกลับมาสมบูรณ์ได้ 100% เหมือนเดิมแน่นอน
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน หรือ ภายในอนาคตอันใกล้นี้ถ้าเรารู้เท่าทันและนำมาใช้ให้ถูกต้องจะเกิดประโยชน์และส่งผลดีอย่างมากแต่ถ้าเราไม่เท่าทันจะกลายเป็นว่าเรากลับตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยีและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
การทำงานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่อยู่ภายใต้ระบบราชการซึ่งอยู่ในรูปแบบของการสั่งการ หรือ การเป็นนายประชาชนไม่สามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง ฉะนั้น การที่จะทำให้ทุกคนเกิดสุร่วมกันจะต้องทำให้ทุกคนได้รับความเป็นธรรม (Equity) หรือได้รับโอกาสด้วยกันทุกคนอย่างเหมาะสมกับสภาพของแต่ละคนด้วยหลากลายวิธีและหลากหลายหน่วยงานภาคีเครือข่ายซึ่งจะยึดถือในเรื่องของความเท่าเทียม (Equality) 
เพียงอย่างเดียวไม่ได้ต้องดูที่ความเหมาะสมแต่ในความเป็นจริง (Reality) ในสังคมยังเกิดความเหลื่อมล้ำอยู่
ขั้นตอนในการสร้างระบบสุขภาพ
-     หน่วยงานสาธารณสุขทำงานเพื่อสุขภาพต่อเนื่อง
-     เครือข่ายสาธารณสุขร่วมดำเนินการอย่างเป็นหนึ่งเดียว
-     ทุกภาคส่วนที่ดูแลประชาชนร่วมมือกันในการสร้างสุขภาพประชาชน
-     ชุมชนเข้มแข็งและเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาพ
-     ประชาชนเจ้าของสุขภาพดูแลสุขภาพตนเองได้
ฉะนั้น กล่าวโดยสรุปที่จะสามารถสร้างภาพฝันอันสูงสุดได้ คือ ประชาชนต้องเห็นดีเห็นงาม
ต่อการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง โดยไม่เกิดมาจากการมีข้อบังคับกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมากำหนดพฤติกรรม
District health system คือ ระบบการดูแลสุขภาพของคนในขอบเขตอำเภอ มันคือระบบ
การทำงานเพื่อคนที่อยู่ในเขตอำเภอมีสุขภาพที่ดี ส่วน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คือ กลุ่มบุคคลที่จะทำหน้าที่กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนนำพาทุกคนในอำเภอไปสู่สุขภาพที่ดี  
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ “พชอ.” มีผู้ว่าราชการจังหวัดและพัฒนาสังคม 
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นที่ปรึกษา นายอําเภอ เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก
จํานวน ไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งนายอําเภอแต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้ 
1)   ผู้แทนหน่วยงานของรัฐในอําเภอ จํานวนไม่เกินหกคน ซึ่งอย่างน้อยต้องแต่งตั้งจากกํานัน 
หรือผู้ใหญ่บ้าน จํานวนหนึ่งคน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ 
2)   ผู้แทนภาคเอกชนในอําเภอ จํานวนไม่เกินหกคน โดยคัดเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพ 
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการด้านสุขภาพหรือสาธารณสุข สถานศึกษาเอกชน ผู้ประกอบวิชาชีพหรือประกอบกิจการอื่น เป็นกรรมการ 
3)   ผู้แทนภาคประชาชนในอําเภอ จํานวนไม่เกินเจ็ดคน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้
หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมหรือชุมชนท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น 
กลุ่มเครือข่าย หรือองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากําไร หรือเครือข่ายอาสาสมัครที่ปฏิบัติงาน
ในอําเภอ เป็นกรรมการ สาธารณสุขอําเภอเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้นายอําเภอแต่งตั้งกรรมการตาม (1) (2) และ (3) เป็นเลขานุการร่วมได้อีกจํานวนไม่เกินสองคน
o  พชอ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่ พชอ. มอบหมายได้ตามความจําเป็น และสอดคล้องกับอํานาจและหน้าที่ของ พชอ. 
o   พชอ. อาจแต่งตั้งบุคคลผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จะยังประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
เป็นที่ปรึกษาพิเศษของ พชอ. เพื่อให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่
ของ พชอ. ด้วยได้
พชอ. มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
1.     ดําเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและแนวทางการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่คณะกรรมการกําหนดตามข้อ 5 (1) 
2.    กําหนดแผนงานและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริง
และสภาพปัญหาในพื้นที่ 
3.     ขับเคลื่อนให้มีการดําเนินการตามเป้าหมายและแนวทางที่คณะกรรมการกําหนดตามข้อ 5 (1) และแผนงานและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ตาม (2) ให้เกิดการบูรณาการ ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ในด้านทรัพยากร บุคลากร งบประมาณ และภารกิจภายใต้ อํานาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานของรัฐนั้น 
4.    สนับสนุน เสนอแนะ และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการดําเนินงานในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ 
เพื่อตอบสนอง และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กําหนดไว้ตาม (1) และ (2)
5.    ประสานงานหรือร่วมมือกับพชอ. อื่น หรือ พชข. คณะกรรมการเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน
หรือหน่วยงานอื่นทั้งในและนอกเขตพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นให้เกิดการบูรณาการในการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6.     ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นไปตาม (1) และ (2) 
7.     ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
การดําเนินงานตาม (2) ให้ พชอ. ประสานงานและร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน 
และภาคประชาชนในพื้นที่ โดยขอให้หน่วยงานดังกล่าวส่งข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกําหนดแผนงานและเป้าหมายดังกล่าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทั้งนี้ การกําหนดแผนงาน
และเป้าหมายดังกล่าว ให้คํานึงถึงแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่อําเภอนั้นอยู่ในพื้นที่ด้วย
            การพัฒนาเชิงประเด็น สามารถดำเนินงานได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าประเด็นอื่น ๆ 
จะสำเร็จด้วยเช่นกัน ส่วนกรณีของการ การพัฒนาเชิงระบบ นั้น จะสามารถสร้างความสำเร็จได้มากกว่าครอบคลุมปัญหา และมีความยั่งยืนได้มากกว่า      
ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์เดียวกันซึ่งในที่นี้คือ ระบบสุขภาพ จำเป็นจะต้องเกิดมาจากความร่วมมือของหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย กลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องในอำเภอมาร่วมมือกัน เพื่อมุ่งหมายไปสู่การสร้างสุขภาพที่ดีให้เกิดขึ้นในขอบเขตอำเภอ แต่ถ้ากรณีที่
การดำเนินงานเกิดจากการที่มีคนคอยออกคำสั่งให้แต่ละหน่วยงานทำ และเมื่อมีการโยกย้ายของบุคคลนั้นออกไปแล้ว ปรากฏว่าไม่มีการทำงานร่วมกันเช่นเคย แสดงว่าอำเภอนั้น ยังมีการทำงานที่ไม่เป็นระบบที่ชัดเจนแท้จริง เพราะรอคอยให้เกิดคำสั่งในการร่วมมือกัน ฉะนั้นการคิดเชิงระบบถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการทำงานที่ไม่ได้ให้ความสำคัญจากการสั่งการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการทำงานที่เกิดมาจาก
การสำนึกร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง
สรุปเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
1)     คิดให้ครอบคลุม: Six Building Blocks Plus One
2)     ในแต่ละ block: ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐาน
3)     การปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐาน ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 
                  -  แผน, แนวทาง, ข้อตกลง, work flow, ที่เป็นรูปธรรม
                  -  หลักฐานการปฏิบัติเช่น วัตถุ รูป เอกสารผลงาน
                  -  หลักฐานการปฏิบัติจริง
4)     ดำเนินการ (action) ตามแผน, แนวทาง, ข้อตกลง, work flow, ที่เป็นรูปธรรมที่กำหนดเอาไว้ 
 
การใช้ Six Building Blocks Plus One ในการพัฒนาประเด็นสุขภาพ
            เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยจะเป็นการแบ่งกลุ่มในประเด็นที่ผู้เข้าร่วมสนใจ
หรือได้มีการดำเนินการในพื้นที่ เช่น ผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ อาหารปลอดภัย ยาเสพติด และ การจัดการสิ่งแวดล้อม(ขยะ) เป็นต้น ซึ่งกระบวนการคิดนี้ ยึดถือตามหลัก Six Building Blocks Plus One
 
ประเด็นอาหารปลอดภัย
Leadership and Governance
-    การทำประชาคมเกี่ยวกับปัญหาวิเคราะห์ข้อมูล
-    นำเสนอข้อมูลปัญหาให้คณะกรรมการ (พชอ.) รับทราบ พร้อมทั้งกำกับและติดตาม
-    คณะกรรมการกำหนดนโยบาย และวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาอย่างเป็นระบบ
-    แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ มอบหมายภารกิจ 
-    ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์
o   ข้อมูลด้านสุขภาพและผลกระทบ (ข้อมูล 506 คบส.1 2 เช่น ผลการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
o   พฤติกรรมสุขภาพ
o   สังคมและวัฒนธรรม (อาชีพ การศึกษา เศรษฐกิจ/รายได้ ภูมิประเทศ/บริบท)
o   กำกับติดตามประเมินผล
ค่านิยม
-        ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย เช่น หน่วยงานปลอดโฟม
-        รณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษ
-        จัดตลาดอาหารปลอดภัย Green Market
Service Delivery system “ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ”
กระบวนการผลิตและบริการ (ต้นน้ำ)
-     ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยตั้งแต่แปลงปลูกไปจนถึงปากของผู้บริโภค
-     ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
-     ส่งเสริมการป้องกันโรคจากการผลิตสู่ผู้บริโภค
-     ส่งเสริมด้านการการผลิตที่ได้มาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตร
กระบวนการแปรรูป/จำหน่าย/บริการ (กลางน้ำ)
-     การผลิตและการบริการที่ปลอดภัย
-     ควบคุมมาตรฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์
-     การบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้รับมาตรฐาน
-     ควบคุม/ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร (สารปนเปื้อน,น้ำดื่ม)
-     ตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร (ตลาดสด,ร้านค้า,สุขาภิบาลอาหาร ฯลฯ)
ผู้บริโภค/ผู้รับบริการ (ปลายน้ำ)
-     ส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ พฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย 
-     ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย/บริการอาหารปลอดภัยด้วยตนเอง
-     ร่วมตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัย
-     ส่งเสริมมาตรการทางสังคมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
Information system “ข้อมูลควรมีความเชื่อมโยงกัน” 
-    ข้อมูลการเจ็บป่วย
-    รายงานผลการส่งตรวจตัวอย่างอาหารและน้ำดื่ม
-    รายงานสรุปผลการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด
-    ข้อมูลการขึ้นทะเบียนการใช้สารเคมี
-    ข้อมูลผู้ประกอบการ โรงงาน ฟาร์ม เขียงหมู ร้านอาหาร ฯลฯ 
-    ข้อมูล จปฐ.
-    ข้อมูลนโยบายและข้อบัญญัติของหน่วยงาน
-    ข้อมูลงบประมาณ
-    สร้างโอกาสในการเพิ่มช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ 


Financial
-     วิธีการจัดสรรงบประมาณ/ทรัพยากร/แผนพัฒนาสุขภาพ
o  ระดับอำเภอ: แผนงบ PP (งบสาธารณสุข) แผน คป.สอ. 
o  ระดับพื้นที่: แผนงบกองทุนตำบล/ท้องถิ่น/หมู่บ้าน โดยมีการเสนอแผนเพื่อของใช้กองทุนตำบล
o  โดยมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   
-     แผนงาน/แนวทางในการติดตาม ตรวจประเมิน แก้ปัญหา 
o  ตรวจ Food safety ได้แก่ สารปนเปื้อน 5 ชนิด ตรวจแหล่งจำหน่าย เป็นต้น
o  เกษตรปลอดภัย โดยมี ส่งเสริม/รณรงค์/ตรวจสารเคมีตกค้าง(ผู้ปลูก/ผู้ผลิต) และการสร้างศูนย์การเรียนรู้
o  คบส. ได้แก่ CFGT และมอบป้ายรับรองมาตรฐาน
o  ส่งเสริมปลูกผักในระดับครัวเรือนและชุมชน
o  การประกวดหมู่บ้านต้นแบบ
o  แนวทางการขับเคลื่อน
-     การจัดตั้งคณะทำงาน
-     เก็บข้อมูลสถานที่ผลิต/จำหน่าย
-     ลงมือปฏิบัติ สำหรับด้านอาหารปลอดภัย โดยการเสนอแผนในด้านการรณรงค์ 
ป้องกัน และสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภค 
-     การส่งเสริมตลาดปลอดภัย ที่เน้นในส่วนของตลาดสดที่มีอยู่ในพื้นที่ ร้านอาหาร และแผงลอย
-     มีกิจกรรมระดับอำเภอ
-     ติดตามประเมินผลและสรุปผลงบประมาณในการดำเนินงานให้คณะกรรมการรับทราบ
-     สำรวจแหล่งงบประมาณในแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และองค์กรอิสระต่างๆ 
ที่ขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอดภัยเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ต้องมีคู่มือหรือองค์ความรู้
ที่เหมาะสมและน่าสนใจ เพื่อให้แหล่งทุนสนใจ
-     ระบบสารสนเทศ โดยการสร้างกลุ่ม Line / Facebook / วิทยุกระจายเสียง 
o  มีการรวบรวมข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ/ทรัพยากรอื่นๆ
o  มีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการจำหน่าย/มูลค่าทางการตลาด
-     ทรัพยากรสนับสนุนจากภาคส่วนอื่นๆ โดยมีการสื่อสารภายนอกให้เข้าใจ มี Flow chart/ 
Frame work สื่อสารให้องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องทราบ
Community Health System
-     แผนกระตุ้นส่งเสริมชุมชน หน่วยงาน สร้างกฎระเบียบปฏิบัติ อาหารปลอดภัย โดยการคืนข้อมูลให้กับชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจ กำหนดกฎระเบียบปฏิบัติขึ้นมา โดยเชื่อมโยงความเจ็บป่วย
ให้เกี่ยวข้องกับอาหารปลอดภัย 
-     รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน
-     ดึงผู้รู้ในชุมชน คนที่ทำเกษตรปลอดภัย ปลอดสารพิษ และอินทรีย์ เข้ามามีส่วนร่วม
-     การสร้างแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ให้กำลังใจคนริเริ่มทำ และเชิดชูคนทำสำเร็จ
-     ติดตามผลตรวจสอบการปนเปื้อนในสารอาหาร ติดตามการประเมินนโยบายในชุมชน และการบริโภคของคนในชุมชน
o  การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
o  ติดตามประเมิน การกำหนด กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติตามแผน เช่น ร้านอาหาร/หน่วยปลอดโฟม
o  ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร
Health Workforce
-    บูรณาการการทำงานร่วมกัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามภารกิจ บทบาท หน้าที่ ที่ไม่ได้ทำงานพร้อมกันแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันในเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย
o   ภายในหน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตรวจอาหาร เภสัชกร นักวิชาการ 
เจ้าพนักงาน นักโภชนาการ  อสม. และนักวิจัย
o   ภายนอกหน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ อปท. เกษตรอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลประจำอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ เป็นต้น 
-    แนวทางการดำเนินงาน
o   จัดทำแผนกำลังคน
o   กำหนดบทบาทในแต่ละหน่วยงาน
o   เชื่อมโยงบทบาทหน้าที่ จัดทำข้อตกลง MOU การขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัย 
-     ข้อมูลประกอบการจัดกำลังคน
o  ต้นน้า ได้แก่ แหล่งผลิตพืช/สัตว์
o  กลางน้ำ ได้แก่ แหล่งกระจายและแปรรูป เช่น ตลาด โรงงาน
o  ปลายน้ำ ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอย ผู้ประกอบการ สถานประกอบการ
 
Access to Essential Medicines and Health technology
-     วิธีการกำหนด
o  จัดหาชุดตรวจอาหารปลอดภัย
o  กำหนดรายการที่ใช้ในการรักษา ยาแผนปัจจุบัน/สมุนไพร 
o  ใช้แอปพลิเคชันช่วยในการเก็บข้อมูล/เผยแพร่ข้อมูล
o  จัดทำวิจัย/นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย
-     วิธีการจัดสรร
o  จัดทำแผนจัดหา/ผลิต/สนับสนุน/แผนสำรอง
o  ประสานเครือข่ายข้างเคียงขอสนับสนุนกรณีขาดแคลน (รพช./รร./อปท.) 
-     ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการติดตาม เช่น แบบฟอร์มการสำรวจ/เก็บข้อมูล/โปรแกรมวิเคราะห์ 
-     วิธีกำหนดประเภทยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังควรมีเอกสาร/หลักเกณฑ์การเฝ้าระวัง การใช้ยา/อุปกรณ์/เทคโนโลยี
-     วิธีการติดตาม คือ การรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์/แจ้งข่าวคืนข้อมูล
-     ข้อมูลที่ใช้ติดตาม โดย มีแบบฟอร์มเอกสาร โปรแกรมติดตาม และข้อมูลที่มีความเสี่ยง 
-     มีผลงานการศึกษาและพัฒนาบนพื้นฐานการใช้งานจริง
o  มีการกำหนดรายการยา/เทคโนโลยี/วิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ได้
o  แผนการวิธีการสนับสนุน งบประมาณจาก อปท./สสส.
o  มีการเชื่อมโยงและประสานเครือข่ายมีแผนงานความร่วมมือ (ขอรับการสนับสนุน/MOU) 
o  ฐานข้อมูลที่ชัดเจนและมีข้อมูลอำเภอข้างเคียงเพื่อเปรียบเทียบ
o  การจัดสรรแบ่งปันโดยมีแผนปฏิบัติการ (คน/งาน/เงิน) แบบติดตามประเมินผลฐานข้อมูลการดำเนินงาน แผนการสื่อสาร/ช่องทางติดต่อ การติดตามผล และข้อมูลสารสนเทศ
ที่เกี่ยวกับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคนอก

 
การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
Leadership and Governance
-     Input
o  รายงานสรุป รายงานประจำปี ข้อมูลการทิ้งขยะ ค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะ 
o  ข้อมูลจากชุมชน สถานประกอบการ 
o  นโยบายทุกระดับ
-     การพิจารณา
o  จากการประชาคม (รวบรวมและวิเคราะห์)
o  จากการมีส่วนร่วมโดยการพิจารณาของคณะกรรมการ  
-     กำหนดประเด็นโดยการเลือกประเด็นที่ได้จากการมีส่วนนร่วม
-     วางระบบประเด็นนำไปปฏิบัติ
o  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการมอบหมายภารกิจ
o  ตามบทบาทของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
o  แกนหลักในการจัดประชุมและประชาคม
o  นำประเด็นเข้าที่ประชุมพชอ.
-     M&E โดยการติดตามผลการดำเนินงานทุกๆ 2 เดือน และประชุมคณะกรรมการและอนุกรรมการทุก 3 เดือน
Service Delivery System
-     การรณรงค์เรื่องขยะ
o  คัดแยกขยะในครัวเรือน
o  ธนาคารขยะ
o  สอนชาวบ้าน ทั้งในโรงเรียน ชุมชน และส่วนราชการ
o  ลดการใช้โฟม/ลดการใช้ถุงพลาสติก
-     การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางสังคม เพื่อตักเตือนและเปรียบเทียบปรับคนที่กระทำผิดกฎ
-     บันทึกข้อตกลงภาคีเครือข่าย (MOU) ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อปท. ผู้นำชุมชน โรงเรียน กศน. สาธารณสุข ศาสนสถาน หน่วยงานราชการในพื้นที่ สถานประกอบการ และภาคเอกชน
-     ค้นหาต้นแบบจัดการขยะดีเด่น มีเวทีเชิดชูเกียรติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน
-     สร้างระบบและเครือข่ายจัดการขยะติดเชื้อและขยะอันตราย
Health Workforce
-     ในองค์กรด้านสาธารณสุข (รพ. สสอ. รพ.สต. และ อสม.)
o  หลักเกณฑ์กระจายกำลังคนโดยการทำ MOU และมีการพัฒนาศักยภาพ
o  ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดกำลังคน (ปริมาณขยะ/ชนิดของขยะ)
o  การกำหนดค่านิยมเน้นในเรื่องของมาตรการทางสังคม และ การถ่ายทอดนโยบาย
o  แนวทางวิธีการติดตามเป้าหมายเบื้องต้นคือ ปริมาณแต่ละชนิดดลง
o  ข้อมูลเพื่อการประกอบ คือ มีการคัดแยกขยะ
-     นอกองค์กร เช่น ภาคส่วนราชการอื่นๆ ภาคท้องถิ่น และท้องที่ รวมไปถึงแกนนำชุมชนอื่นๆ 
o   แผนแนวทางความร่วมมือโดยมีแผนการพัฒนาศักยภาพร่วมกัน
o  ข้อมูลเพื่อประกอบการจัดการ ได้แก่ การจัดทำใบประกาศ และการประกวดหมู่บ้าน
o  แนวทางเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Health Information system
-     วิธีการกำหนดชนิดประเภทข้อมูลและเครื่องมือจัดการข้อมูล
o  แบบรายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o  ฐานข้อมูลกลางด้านขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o  แบบรายงานขยะติดเชื้อ
o  แบบรายงานขยะอันตราย
o  แบบรายงานการจัดการขยะเปียก
o  ฐานข้อมูลรายงานประจำเดือนด้านการจัดการขยะมูลฝอย
-     วิธีการจัดการข้อมูล วิธีการ/ผู้รับผิดชอบ/ดำเนินการ (ต่อเดือน)
o  ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o  ปริมาณขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัด
o  ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ
o  ขยะมูลฝอยติดเชื้อในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o  กากอุตสาหกรรมในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
o  จุดรวบรวมขยะอันตราย
o  หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย
o  ผู้รับผิดชอบ
-     ข้อมูลขยะมูลฝอยในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ท้องถิ่นอำเภอ
-     ข้อมูลขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลอำเภอ
-     ข้อมูลแบบสรุปรายงานการจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
-     วิธีการเชื่อมโยง/วิธีการติดตามประเมิน โดยใช้ฐานข้อมูลรายงานประจำเดือนด้านการจัดการ
ขยะมูลฝอยตามเว็ปไซด์ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ฐานข้อมูลเป็นรายอำเภอ
-     วิธีการกำหนดชนิดประเภทข้อมูลและเครื่องมือจัดการข้อมูล
o  แบบสรุปสารสนเทศด้านการบริหารจัดการขยะประจำเดือน
o  นำเสนอประธานในที่ประชุมคณะกรรมการพชอ. โดยเป็นการคืนข้อมูลสถานการณ์ให้กับชุมชน แจ้งแผนการติดตามให


... ... ... ... ... ... ... ... ... ...