รายงานสรุปการประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับเขต ( อ่าน 210 )


รายงานสรุปการประชุม
การติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับเขต 
โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2  วันที่ 4 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอล์ ชั้น 5 โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 
 

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม โดย รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยนเรศวร (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

โดยในวันนี้ถือเป็นการติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลการดำเนินงานโดยเฉพาะของจังหวัดตากนั้น 
ยังไม่ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานใน 9 อำเภอ จากนั้นจะเป็นการายงานอีก 4 จังหวัดที่เหลือ จะมีการรายงานผลเช่นกัน
            47 อำเภอที่ได้กล่าวถึงนี้ ถือเป็นการตอบสนองตามแผนงานโครงการ ที่มุ่งสร้างระบบสุขภาพต้นแบบให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง สำหรับการประชุมในครั้งนี้ยังมีเป้าหมายให้แต่ละพื้นที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและนำไปต่อยอดในพื้นที่ต่อไปได้ โดยในช่วงระหว่างการพัฒนาโครงการนี้ ประจวบเหมาะกับการเกิดขึ้น
ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือ พชอ. ซึ่งสามารถนำมาบูรณาการร่วมกันกับการดำเนินโครงการนี้ได้อย่างลงตัว 
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสุดท้ายปลายทางจะได้ Model ที่เป็นต้นแบบให้ประเทศไทยนำไปใช้ หรือนำไปเป็นบทเรียนได้ ซึ่งถือว่าแต่ละจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 2 นี้ ถือเป็นผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ด้านการจัดทำระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เกิดขึ้น
สำหรับวันนี้จะมีการเสริมสร้างทักษะความรู้ ในการทำความเข้าใจโปรแกรมที่นำไปประยุกต์ใช้ได้
ในพื้นที่โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอองค์ความรู้ให้เรียนรู้ร่วมกัน   
            ความคาดหวังอีกประการ คือ การนำความรู้งานวิจัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ได้ถูกนำไปใช้ได้จริง รวมถึงการดำเนินงานโครงการใดๆ ที่มีงานวิชาการมารองรับ จะถือว่าเป็นคุโณปการต่อพื้นที่ที่มีคุณภาพ

            หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้น จึงเข้าสู่ช่วงของการรายงานผลการดำเนินงานและความก้าวหน้า
ของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้จังหวัดตากถือเป็นจังหวัดเดียว ที่ยังไม่ได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน ฉะนั้น ในการประชุมครั้งนี้ จึงได้ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่จะได้มานำเสนอผลการดำเนินงานพร้อมเพรียงกันทั้ง 9 อำเภอ ดังต่อไปนี้
การนำเสนอ: จังหวัดตาก
อำเภอแม่ระมาด: แก้ปัญหายาเสพติด
-     มีการดำเนินกิจกรรมไป 4 กิจกรรม 
o  ประชุม พชอ. ใหญ่ (ระดับอำเภอ) นำเสนอปัญหา ซึ่งได้เสนอปัญหายาเสพติด
o  เวทีรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน และร่างแผนงานระดับอำเภอร่วมกัน
o  นำแผนงานเข้าในที่ประชุม พชอ. พร้อมทั้งมอบหมายงานและสรรหางบประมาณ
o  ประชุมคณะทำงาน ติดตามผลการดำเนินงาน
-     สำหรับการจัดทำระบบโดยเลือกประเด็นยาเสพติดมาเป็นหัวข้อซึ่งในแต่ละ Block นั้น 
จะมีคณะทำงาน พชอ. เป็นคณะกรรมการ
-     ปัญหาอุปสรรค
o  เครือข่ายไม่เข้าใจว่าเป็นการทำงานร่วมกัน
o  ข้อมูลไม่ตรงกัน/ฐานข้อมูลไม่ตรงกัน
o  งบประมาณไม่เพียงพอ
o  นายอำเภอเกษียณอายุราชการไปแล้ว
-     ข้อเสนอแนะ/แก้ไขปัญหาเบื้องต้น
o  การมองปัญหาเป็นองค์รวม (ภาพใหญ่)
o  สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน
o  มองให้เป็นปัญหาร่วมกันของทุกหน่วยงาน/องค์กร
o  เชื่อมรอยการทำงานทุกระดับ (อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน/ครอบครัว)
-     แผนงานที่เกิดขึ้น
o  การจัดทำค่ายครอบครัว พลังเชิงบวก
o  มอบหมายภารกิจ/บทบาท ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 
o  สร้างชุมชนนำร่อง
o  ขับเคลื่อนประเด็น TO BE NUMBER ONE
-     ข้อสังเกต/ซักถาม
o   บทบาทของ พชอ. มีองค์ประกอบที่หลากหลายครอบคลุมทุกหน่วยงานในอำเภอ 
เมื่อมีการเสนอประเด็นด้านสุขภาพเกิดขึ้นในอำเภอ มักถูกโยนความรับผิดชอบมาที่สาธารณสุขอำเภอ หรือ รพ.สต. ต่างๆ ซึ่งไม่ถูกต้อง
o  ข้อสังเกตต่อ Six Building Blocks Plus One ซึ่งเป็นมิติที่ครอบคลุมทั้งหมด ทั้ง 6 ด้าน และรวมอีก 1 ด้านคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการนำไปใช้
และเรียนรู้ให้ชัดเจนมากขึ้น

อำเภอวังเจ้า
กรณีศึกษาตามรูปแบบของ Six Building Blocks Plus One
-     ระบบ Leader ได้มีการทำความเข้าใจ ในทุกระดับ
-     ระบบบริการ คือ บริการตามกลุ่มวัย และแก้ไขปัญหาสำคัญในพื้นที่
-     ระบบสารสนเทศ ด้านสุขภาพ มีการบันทึกข้อมูลที่มีคุณภาพโดยมีการตรวจสอบก่อนส่งรวมถึง
การพัฒนาทักษะคนเก็บข้อมูล
-     ระบบการเข้าถึงยาและเทคโนโลยีฯ มีการพัฒนารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภค และการใช้ยาในชุมชน อย่างรู้เท่าทัน 
-     ระบบการเงินการคลัง มีหน่วยงาน/ธนาคารอุปกรณ์ ที่ดูแลเรื่องนี้
-     ระบบสุขภาพชุมชน ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย และทำงานร่วมกัน ส่วน พชอ. มองว่าต้อง
เป็นเจ้าภาพร่วมกัน
ประเด็นขับเคลื่อน: อาหารปลอดภัยและสุขภาพ
-     ส่งเสริมปลูกผักกินเอง และส่งเสริมการออกกำลังกาย
-     รณรงค์งดใช้สารเคมีในการเกษตร
-     ชุมชนวิถีพอเพียง ที่มองถึงเรื่องอาหารพื้นบ้านที่มีผลต่อสุขภาพ 
-     ส่งเสริมความรอบรู้ทางด้านสุขภาพให้กับชุมชน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-     พัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล
-     วิเคราะห์ความเป็นไปได้และปล่อยงานสู่พื้นที่
-     การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามบทบาทที่ต้องจัดการบริการสุขภาพ
ข้อสังเกต/ซักถาม
-     การนำเสนอทำให้เห็นถึงระบบ Six Building Blocks Plus One ได้ชัดเจนมากขึ้น
-     ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทางอำเภอวังเจ้าได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของโครงการที่มีการเชื่อมประสานงานและทำความเข้าใจร่วมกันน้อยเกินไป

อำเภอพบพระ
-     มีการประชุมนำเข้าในเรื่องของปัญหา พชอ.อำเภอพบพระ ซึ่งได้เลือกปัญหาอุบัติเหตุทางการจราจร ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาในปีที่ผ่านมา
-     ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่
o  ร่างกายไม่พร้อม
o  ประมาท
o  สภาพรถ/ยานพาหนะ ขาดความพร้อม มีการปรับแต่งไม่เหมาะสม
o   สภาพพื้นผิวการจราจรเป็นหลุม ถนนแคบ โค้ง ชัน รวมถึงสภาพแวดล้อมการจราจร 
เช่น ไฟส่องสว่าง
o  สภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ

-     ระบบบริการ
o  EMS 
o  ER 
o  In-hos 
o  Referral System
-     ระบบกำลังคน
o  พัฒนาศักยภาพ
o  การสร้างการมีส่วนร่วม
-     ระบบข้อมูล
o  ระบบรายงาน
o  ระบบฐานข้อมูล
o  ช่องทางการสื่อสาร
o  การจัดการประชุมชี้แจง รายงานความก้าวหน้า
-     ระบบการเข้าถึงยาฯ
o  ได้รับการจัดสรรอย่างดีสอดคล้องกับแผนบริการสุขภาพ
o  เข้าถึงได้ทุกคน
-     การเงินการคลัง
o  จัดสรรทรัพยากรแบบบูรณาการ
o  การส่งต่อ/ซ่อมแซมยานพาหนะ ให้กับมูลนิธิฯไปใช้ต่อ
-     ระบบสุขภาพชุมชน
o  การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุร่วมกัน
-    ปัญหาและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
o   การจัดเวทีในการชี้แจงและเชื่อมแผนงานความรับผิดชอบร่วมกัน
o   การส่งเสริมและชักชวนให้ภาคเอกชนจำหน่ายหมวกกันน็อคราคาถูก
o   การเฝ้าระวังจัดการประชุมอย่างต่อเนื่อง
-    ข้อสังเกต
o   สกัดแผนงานออกมาให้เห็นเป็นพื้นที่ต้นแบบที่ชัดเจน (ที่ประสบความสำเร็จ) 
อำเภอบ้านตาก
-     ได้จัดทำยุทธศาสตร์ “คนบ้านตากหัวใจเดียวกันมุ่งสร้างสังคมอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน” และคำสั่งเกิดขึ้น โดยแผนงานนั้นได้มีการแยกคณะอนุกรรมการออกตามกลุ่มวัยเป็น 6 กลุ่ม
-     พันธกิจ
o  บริหารจัดการ วางแผน และประสานงานในภาคีเครือข่าย 
o  ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
o  ติดตามและประเมินผล
-     เป้าประสงค์
o  ประชาชนคนบ้านตากมีสุขภาพดีแบบองค์รวม และสามารถจัดการสุขภาวะได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย
o  เกิดชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพที่เข้มแข็ง
o  เกิดทีมงานภาคีเครือข่ายอำเภอสุขภาพที่สามารถทำงานร่วมกันได้
-     ยุทธศาสตร์การดำเนินงานมีด้วยกัน 3 ประการ ดังนี้
o  ประชาชนคนบ้านตากมีสุขภาพดีแบบองค์รวม และสามารถจัดการสุขภาวะได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย
o  ขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมุ่งสู่ชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
o  พัฒนาระบบฐานข้อมูลประชารัฐอำเภอบ้านตาก
-     Six Building Blocks Plus One: 
o  ระบบบริการสุขภาพ
-     ปัญหาอุปสรรค
-     ผู้ป่วย STEMI, Stroke มาไม่ทัน ระบบ Fast Track
-     ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่สามารถเข้าถึงระบบ EMS
-     ER overcrowding
-     เสียชีวิตจาก RTI มีแนวโน้มเกินเป้าหมาย
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น
-     พัฒนาระบบ Fast Track
-     การพัฒนาระบบ Pre hospital Care และ Definitive Care
-     แนวทางการคัดแยกผู้ป่วย
-     การสอบสวน case , conference case
o  ระบบอัตรากำลัง
-     ปัญหาและอุปสรรค
-     ขาดแคลนบุคคลกรที่มีความรู้และทักษะเฉพาะ ENP/EN (4.1ต่อแสนประชากร)
-     ใช้บุคลากรร่วมกัน
-     EMR มีไม่ครบทุกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น
-     ขอรับการสนับสนุนการอบรมระยะสั้นจาก service plan จังหวัด ,เขต
-     พัฒนาบุคลากรทุกระดับ
-     รพ.บ้านตากเป็นหน่วยฝึกอบรม EMR
o  ระบบข้อมูลสารสนเทศ
-     ปัญหาและอุปสรรค
-     ขาดการบูรณาการข้อมูล ข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน Hos XP , IS WIN ,43 แฟ้ม   
      PHER accident
-     ข้อมูลไม่เป็น real time ไม่ถูกต้อง
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น
-     แนะนำ user ให้เห็นความสำคัญของข้อมูล
o  การเข้าถึงยาเวชภัณฑ์และชันสูตร
-     ปัญหาและอุปสรรค
-     ระบบ consult บางสาขาไม่สามารถติดต่อ staff ได้
-     Ambulance safety
-     การรักษาพยาบาลขณะนำส่ง
-     ผู้เสียชีวิตและคู่กรณีอุบัติเหตุทางถนนไม่ได้ตรวจ blood alcohol ทุกราย
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น
-     ได้ส่งต่อปัญหาให้คณะกรรมการระบบรับส่งต่อจังหวัดตากแล้ว
-     การติดตั้งกล้อง และ GPS ในรถ Ambulance
-     Telemedicine
-     ได้รับเงินสนับสนุนค่าตรวจblood alcohol 
o  งบประมาณ
-     ปัญหาอุปสรรค
-     ER คับแคบ 
-     งบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น
-     ปรับปรุงห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
-     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดสรรงบประมาณการจัดบริการ    
     การแพทย์ฉุกเฉิน
o  ภาวะผู้นำและอภิบาลระบบ
-     ปัญหาและอุปสรรคคือ แรงกดดันจากความคาดหวังของประชาชนเป็นจุดเสี่ยงที่
     ทำให้เกิดข้อร้องเรียน ผลลัพธ์ที่ไม่พึ่งประสงค์และความรุนแรงในสถานพยาบาล
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น ได้แก่ โครงสร้างการบริหารระบบ ECS และ กฎหมาย
     ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน  พรบ.สถานบริการ
o  ระบบการมีส่วนร่วม
-     ปัญหาอุปสรรค คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เห็นความสำคัญของระบบบริการ
     การแพทย์ฉุกเฉิน
-     แนวทางแก้ไขเบื้องต้น คือ คณะกรรมการคุณภาพชีวิต (พชอ.) สนับสนุนให้องค์กร
     ปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ จัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
-     ข้อสังเกต
o   เห็นด้วยที่ทางบ้านตาก พยายามเชิญชวนให้นายอำเภอเข้ามาทำความเข้าใจระบบและ
มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็น  

 

อำเภอแม่สอด
-     ใช้การเวทีประชาคมร่วมกับชุมชน ทำให้ได้ประเด็นขับเคลื่อนมา 4 ประเด็น 
o  โดยในปีนี้เน้นประเด็นอาหารปลอดภัย ซึ่งพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
o  มีการประชุมทุกเดือน
o  การออกตรวจแปลงปลูก ตรวจร้านอาหาร และให้ความรู้กับกลุ่มผู้บริโภค
-     สรุป
o  ได้นโยบายชัดเจน
o  ถอดบทเรียนชุมชน
o  กำหนดบทบาทชัดเจน
-     สิ่งที่จะทำต่อไป
o  ตรวจร้านอาหารในโรงงาน
o  ตรวจอาหารในโรงเรียนนานาชาติ
แนวทาง Six Building Blocks Plus One
-     ระบบผู้นำมี พชอ. พชต.
-     ระบบบริการสุขภาพ เชิงรุก-เชิงรับ มีบริการข้ามประเทศ
-     ระบบกำลังคน ใช้บุคลากรทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนด้วย
-     ระบบสารสนเทศ มีการเก็บทำเป็นฐานข้อมูลพร้อมทั้งทำคิวอาร์โค้ดไปติดไว้บริเวณที่สาธารณะ
ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0
-     ระบบการเข้าถึงยาฯ มีการทำข้อมูลบริการให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยเฉพาะผู้นำชุมชน และ ผู้นำนักเรียน เพื่อช่วยในการสื่อสาร
-     ระบบการเงินการคลังมีการบรูณาการร่วมกันทุกภาคส่วน
-     ระบบสุขภาพชุมชนเน้นการพัฒนาสุขภาพกลุ่มในชุมชน ปลูกกินเอง พึ่งตนเองให้มากที่สุด กินผัก เป็นยา 
ข้อสังเกต/ซักถาม
-     กรณีที่มีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในพื้นที่ (หมู่บ้านชาวจีน เข้าพื้นที่ 99 ปี) จะมีแนวทางในการ
จัดการอย่างไร โดยผู้นำเสนอได้ชี้แจงว่าจะมีการเข้าไปตรวจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
-     แม่สอดนำเสนอได้น่าสนใจซึ่งถือว่าการที่มีชาวจีนมาอาศัยอยู่ถือเป็นดาบสองคมในแง่ดีคือส่งเสริม
การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ แต่ในแง่ลบคือการหลั่งไหลของผู้คนการแย้งชิงทรัพยากรและการเกิดโรคขึ้นได้
 
อำเภอท่าสองยาง
-     เลือกมา 2 ประเด็น คือ อุบัติเหตุ และ การจัดการสิ่งแวดล้อม
-     มีการประชุมมา 2 ครั้ง มีนายอำเภอเป็นประธาน โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลปัญหาทางการจราจร 
-     มีการนำเสนอผลการดำเนินงาน
-     ระบบผู้นำฯ มี 2 ระดับ คือ คณะกรรมการ และ คณะอนุกรรมการ
-     ประโยชน์ที่ได้รับ
o  มีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และ NGO
-     ปัญหา
o  บูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลและภารกิจ
-     ข้อเสนอแนะ
o  การบูรณาการข้อมูลของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อคืนข้อมูลไม่มองว่าเป็นปัญหาของภาคส่วนสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว
อำเภอเมืองตาก
-     ประเด็นการขับเคลื่อนคือ เมืองตากสุขภาพดี (ลดอ้วนลดพุง) และมีเป้าหมายสูงสุดคือประชาชน
เมืองตากมีคุณภาพชีวิตที่ดี
-     การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนเมืองตาก ปี 2562 “เมืองตากสะอาดจัง” มีการส่งเสริม 4 ประเด็น
o  ผักปลอดสารเคมี (ชุมชน/อปท./เกษตรอำเภอ)
o  รั้วกินได้ (เน้นปลูกกินเอง เหลือแจก/แลกกัน)
o  การกำจัดขยะ
o  บ้านเรือนสะอาด
-    การดำเนินงานใช้ความร่วมมือแบบบูรณาการโดยเฉพาะเครือข่ายจิตอาสามาร่วมแรงร่วมใจในการ
จัดการเมืองตากร่วมกัน รวมถึงมีการใช้รถยนต์แห่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวเมืองตากออกมาร่วมมือกัน 
เพื่อทำให้เมืองตากสะอาดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
-    งบประมาณที่ได้รับจากโครงการนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีซึ่งสามารถนำมาบูรณาการในการขับเคลื่อนงานของ พชอ. ได้เป็นอย่างดี 
-    กิจกรรมที่จะทำต่อไปจากนี้ คือ การจัดกิจกรรม เดิน วิ่ง และ ปั่นจักรยาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
คนเมืองตากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
-    การจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบล โดยให้ชุมชนจัดการตนเองและสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้
-    ซักถาม/ข้อสังเกต
o   ประเด็นที่เห็นเด่นชัดคือ การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพให้ชุมชนเกิดความตระหนัก
และเข้ามามีส่วนร่วม
 
อำเภอสามเงา: การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
-     เริ่มต้นโดยใช้การทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ของทุกภาคส่วนในพื้นที่มาร่วมกันขับเคลื่อนในประเด็นการจัดการขยะ 
-     อปท. รับเรื่องต่อโดยไปขับเคลื่อนควบคู่กับนโยบายขยะแห่งชาติ ทั้งนี้ทางนายอำเภอได้กำชับในเรื่องการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งได้มีการมอบหมายไปในส่วนของผู้นำท้องที่ส่วนเครือข่ายของภาคส่วนสาธารณสุข ให้ทาง สสอ.สามเงาดูแล 
-     การดำเนินงานด้านการกำจัดขยะ พบว่า ถุงพลาสติกสามารถกลับไปสู่คนรับซื้อขยะมากขึ้น 
-     นอกจากขยะแล้ว ยังมีการทำกิจกรรม No foam
-     ส่วนด้านอาหารปลอดภัยให้แต่ละ อปท. สร้างศูนย์การเรียนรู้ โดยดำเนินการได้ครบทั้ง 6 ศูนย์ 
โดยมีการเน้นส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
-     โดยเป้าหมายต่อไปนั้น ทางอำเภอสามเงามีเป้าหมายคือ เมืองสามเงาสะอาด ปราศจากไข้เลือดออก 


การนำเสนออำเภอโดดเด่นของ 5 จังหวัด
จังหวัดตาก : อำเภออุ้มผาง
-     มีพัฒนาการจากการประเมินในครั้งแรกนั้น พบว่ามีการพัฒนาที่ดี โดยเฉพาะการพัฒนารพ.สต.
ติดดาว ซึ่งมีการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ มีภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมมากมาย
 แนวทาง Six Building Blocks Plus One
-     ระบบภาวะผู้นำ มี พชอ. มีการกำหนดนโยบาย แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับและประเมินผล
โดยอุ้มผางเลือกประเด็นการจัดการขยะและ NCD 
-     ระบบบริการสุขภาพแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมดำเนินการ
-     ระบบกำลังคน มีการพัฒนากำลังคนโดยใช้ภาคีเครือข่ายเข้ามาโดยเฉพาะนอกภาคสาธารณสุข 
-     ระบบข้อมูลสารสนเทศจะเป็นการจัดทำรายงาน ระบบฐานข้อมูล และช่องทางการสื่อสารต่างๆ 
ซึ่งในส่วนของเลขานุการ พชอ. จะเป็นคนทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล
-     ระบบการเข้าถึงยาฯ ใช้ความรู้แพทย์ทางเลือก (หมอเขียว) 
-     ระบบการเงินการคลังฯ การจัดสรรทรัพยากรแบบบูรณาการทุกระดับ
-     ระบบสุขภาพของชุมชนโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
-     สิ่งที่เกิดขึ้น
o  ปริมาณขยะลดลง
o  สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ไข้เลือดออกลดลง
o  ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ
-     ปัจจัยความสำเร็จ
o  นโยบายนำของนายอำเภอ
o  การจัดการข้อมูลของทีมเลขานุการ พชอ.
o  การเสริมพลังเครือข่าย
-     ข้อสังเกต/ซักถาม
o  วิธีการพัฒนาศักยภาพโดยเลือกตามประเด็นความสนใจของบุคลากรและกลุ่มแกนนำเครือข่ายที่สนใจ
o  มีการกำหนดกฎกติการ่วมกันของคนในชุมชนร่วมกัน
o  งานด้านสุขภาพนั้นไม่ได้เป็นภาระบทบาทของภาคส่วนสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นภารกิจร่วมกันของทุกส่วนของอำเภอ ซึ่งจากกการดำเนินงานของอุ้มผาง ถือว่ามีการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี โดยการเชิญชวนภาคีเครือข่ายนอกภาคสาธารณสุข
เข้ามาจัดการร่วมกัน
 
จังหวัดเพชรบูรณ์: อำเภอหนองไผ่
-     การดำเนินงาน พชอ. ในช่วงแรก มีความลำบากไม่สามารถดำเนินการได้ 
-     แรกเริ่มมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจน 
-     กำหนดประเด็นปัญหาคุณภาพชีวิตในพื้นที่
o  อุบัติเหตุทางถนน
o  โรคเรื้องรัง
o  ผู้สูงอายุพึ่งพิง ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
o  การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
-    การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ประเด็น โดยในช่วงแรกไม่มีการจัดตั้ง พชต. ซึ่งในระดับพื้นที่นั้นให้หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่จัดการ
-    รูปแบบการดำเนินงาน “K H A P H A I” หรือ กล้าไผ่ โมเดล
o   Knowledge องค์ความรู้
o   Holistic ดูแลแบบองค์รวม
o   Accessibility เข้าถึงบริการ
o   Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
o   Human rights สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค 
o   Altruism ความมีจิตอาสา
o   Innovation นวัตกรรม การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น


-   แหล่งงบประมาณ จาก มน. สสจ. และสำนักยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย
-   กิจกรรมเริ่มต้น โดยมีการประกาศ Kick  off และมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) พร้อมทั้ง
มีการชี้แจงบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่ายได้รับรู้งานของ พชอ. 
-   มีการทำข้อมูลพร้อมทั้งมีเวทีคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้
-   ด้านคณะทำงานได้มีการประชุมแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง 
-   ทั้งนี้ ในการดำเนินงานตัวเลขไม่สามารถปรับเปลี่ยนลดลงได้ทันที แต่ทางคณะทำงานมีความตั้งใจ และคาดหวังว่าจากระบบงานที่ได้วางกันไว้ จะสามารถทำให้ตัวเลขมีอัตราที่ลดลงในอนาคตอันใกล้นี้
-   กิจกรรมที่ขับเคลื่อนในพื้นที่มีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนสวมหมวกกันน็อค การจัดการจุดเสี่ยง
ในพื้นที่ การให้ความรู้กฎจราจร และรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรในพื้นที่บนพื้นฐาน
ภูมิปัญญาของท้องถิ่น
-   ปัจจัยของความสำเร็จ
o  ผู้นำทั้ง 3 ส่วน คือ นายอำเภอ สสอ. และ ผอ.รพ. 
o  ความร่วมมือในการร่วมดำเนินงานของทุกภาคส่วนในอำเภอหนองไผ่
o  การมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้นของภาคประชาชน


-     ข้อสังเกตเพิ่มเติม: นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
o   อำเภอหนองไผ่ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำระบบป้องกันอุบัติเหตุทางถนน 
และการจราจร นอกจากนี้ยังมีในส่วนของอำเภอชนแดน จะโดดเด่นในเรื่องของอาหารปลอดภัยและผู้นำสุขภาพ
o   สำหรับประเด็นอุบัติเหตุที่มีการคัดเลือกเกิดขึ้นนั้น มาจากนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด
ที่มีคำสั่งให้ไปจัดการในเรื่องอุบัติเหตุ เช่น หล่มเก่า ศรีเทพ และหนองไผ่ ที่ได้คัดเลือกมานำเสนอในเวทีครั้งนี้  
o  ทั้งนี้ในส่วนของการขับเคลื่อนอุบัติเหตุนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การสร้างมาตรการทางสังคมร่วมกันของพื้นที่ เช่น อำเภอศรีเทพ พบว่าปัญหามาจากรถขนอ้อย โดยมีมาตรการเอาผิดสำหรับรถบรรทุกอ้อยที่ทำหล่นบนถนน ถ้ากรณีของการเกิดอุบัติเหตุ มีการปรับเงิน
เข้ากองทุน/สมาคมอ้อย 
รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เสริมว่า ประเด็นที่สามารถจับได้ชัดเจนคือ
-     ภาวะผู้นำที่มีความสำคัญต่อการอภิบาลระบบ ได้แก่ นายอำเภอ สสอ. 
และ ผอ.รพ.
-        คิดงานเป็นระบบ เช่น ประเด็นปัญหาอุบัติเหตุการจราจร โดยมีการคำนึงถึงปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมของคน สมรรถนะยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อม
ของการจราจร 
-     การที่ไม่รอให้พร้อมเสร็จสมบูรณ์ มีการทำไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้เป็นระยะ   


จังหวัดพิษณุโลก: อำเภอเนินมะปราง
กรอบการดำเนินงาน
-     การถ่ายทอดหลักการ แนวคิด สู่เครือข่าย
-     กำหนดประเด็น เลือกมา 3 ประเด็น ได้แก่ อาหารปลอดภัย อุบัติเหตุทางการจราจร และผู้สูงอายุ/
ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
-     พิจารณาองค์ประกอบ สถิติ ข้อมูล นโยบาย งานเงิน การมีส่วนร่วม และการให้ ความสำคัญ 
ภารกิจร่วม และจำนวนบุคลากร ศักยภาพบุคลากร
การดำเนินงาน
-    ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ และมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการ พชอ. ชุดใหญ่
-    ประชุม เสนอข้อมูลต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
-    ขออนุมัติแต่งตั้ง อนุกรรมการดำเนินงาน 3 ประเด็น
-    ศึกษาภารกิจการทำงานแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ประเด็น
-    ประชุมชุดคณะทำงาน
ประเด็นการดำเนินงาน
-     งบกองทุนฯระดับพื้นที่
-     รายจ่ายประจำปี ของ อปท.
-     งบ function แต่ละหน่วยงาน
-     งบ PPA
-     งบ สสส.
-     เงินบำรุง
-     เงินชมรม เงินบริจาค

แนวทาง Six Building Blocks Plus One: ประเด็นอาหารปลอดภัย
-     ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery system)
o  เก็บตัวอย่างเนื้อ
o  เขียงเนื้อสัตว์+ฉี่หมู+ฟาร์มปลอดโรค
o  เกษตรปลอดสาร
o  เกณฑ์ GMP GAP
o  ข้าวอินทรีย์
o  Form Farm to Table
o  ยกระดับตลาดปลอดภัย “ตลาดมีกิน”
o  ความรู้ในโรงเรียน
o  เก็บอาหารส่งตรวจ
o  อสม.เชี่ยวชาญ+อย.น้อย
o  อำเภอปลอดโฟม
o  คืนข้อมูล (ร่วม) 
-     อัตรากำลังด้านสุขภาพ (Health Workforce)
o  กรรมการพชอ. 1 ชุดใหญ่
o  อนุกรรมการอาหารปลอดภัย
o  คณะทำงานสำนักเลขาฯ
o  PM
o  อสม.+จิตอาสา
o  ส่วนราชการ+สื่อ
-     ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information System)
o  ศูนย์ข้อมูล+การรายงาน+สถิติ # สำนักเลขาฯ
o  กลุ่มไลน์
o  ข้อมูลการตาย (ปกครอง) + ข้อมูลสถานะสุขภาพ 
o  เสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
o  เพื่อการวางแผนออกแบบงาน
-     การเงินการคลัง และการแบ่งปันทรัพยากร (Financing)
o  การบริหารจัดการเชิงระบบ งบประมาณจาก สสส.+งบประมาณส่วนกลางเพียงพอ
o  การจัดการระบบบริการ งบประมาณจากอปท.+หน่วยงาน
-     ระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำ (Leadership and Governance)
o  การบริหารจัดการเชิงระบบ โดยประธาน พชอ.และประธานอนุกรรการ
o  การรับรู้ของผู้นำ(นายอำเภอ+ปลัดอำเภอ)
o  คำสั่ง+นโยบาย
o  การสื่อสารเวทีที่ไม่เป็นทางการ
o  การประสานรายงานและกระบวนการติดตาม
 
-     ระบบสุขภาพชุมชน (Community Health System)
o  การประชาสัมพันธ์ทำอย่างต่อเนื่อง ปี 60 – ปัจจุบัน
o  การคืนข้อมูล 77 หมู่บ้าน 28 โรงเรียน
o  คืนข้อมูลการตรวจและสร้างภาคี
o  ชมรมมะม่วงส่งออก+เครือข่ายผู้ประกอบการ
o  แจ้งวาระ หน.ส่วน+เวทีผู้นำ+สู่ชุมชน โรงเรียน 
o  ความสนใจ แผ่นพับ (เรื่องใกล้ตัว)
o  ตลาดนัดสุขภาพ (ปีที่ 6)
o  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผักสวนครัว (ผู้นำ)
แนวทาง Six Building Blocks Plus One: ประเด็นการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจร
-     ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery system)
o  ทบทวนกระบวนการจัดบริการด้านอุบัติเหตุ (ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ-โรงพยาบาล-การสอบสวน)
o  ทบทวนพฤติกรรมและการรักษาวินัยจราจร
o  วิเคราะห์สาเหตุย้อนหลัง
o  กำหนดบทบาทภารกิจร่วม
o  วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
-     อัตรากำลังด้านสุขภาพ (Health Workforce)
o  วิเคราะห์ภาคสาธารณสุข+PM
o  อัตรากำลัง+การประสานส่วนตัว สภ.เนินมะปราง+ไทรย้อย
o  ปกครอง (นายทวีศักดิ์ ล่อกา) และการรวมทีม ผู้นำ 
o   ความพร้อมของกำลังคนอบต.ชมพู และอบต.บ้านน้อยฯ+กู้ภัยเอกชน(เอกบูราพา 
และรอยต่อ อ.สากเหล็ก)
o  อสม.+จิตอาสา รวมถึงการกระจายการช่วยเหลือ
-     ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information System)
o  ศูนย์ข้อมูล+สถิติ # สำนักเลขาฯ
o  การจัดตั้งกลุ่มสื่อสาร
o  ข้อมูลการตาย (ปกครอง) + ข้อมูลสถานะสุขภาพ 
o  พัฒนาระบบการรายงานและแบบฟอร์มการบันทึก
o  การบริหารจัดการข้อมูล+และการนำไปใช้
-     การเข้าถึงยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็น (Access to Essential Medicines and Health Technology)
o  กำหนดแนวทาง ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพร่วมกันภาคสาธารณสุข รวมถึงในจุดท่องเที่ยว
o  กรอบยาและอุปกรณ์ฟื้นคืนชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ
o  รับบริจาค+แสวงหาจากภายนอกรวมถึงกายอุปกรณ์
o  Lab+X-ray และความพร้อมของทีม 
-     การเงินการคลัง และการแบ่งปันทรัพยากร (Financing)
o  ฐานข้อมูลการใช้งบประมาณกองทุนตำบล (8 อปท.จัดสรรงบประมาณ)
o  ข้อมูลเสี่ยงด้านการเงิน (เช่นการซ่อมถนน)
o  การบริหารจัดการการเงินใน CUP)
o  งบประมาณข้อบัญญัติท้องถิ่นและการกระจาย
-     ระบบอภิบาลที่รวมถึงภาวะผู้นำ (Leadership and Governance)
o  การบริหารจัดการเชิงระบบ โดยประธาน พชอ.และประธานอนุกรรมการ
o  การรับรู้ของผู้นำ  (นายอำเภอ+ภาคส่วน)
o  คำสั่ง+นโยบาย+การให้ความสำคัญ
o  การสื่อสารเวทีที่ไม่เป็นทางการ
o  การประสานรายงานและกระบวนการติดตาม
o  การทบทวนภารกิจ บทบาทหน่วยงาน
o  การกำหนดวิธีการประสาน นำส่ง และรวบรวมข้อมูล (ฝ่ายความมั่นคง) โดยประธาน พชอ.และประธานอนุกรรการ
o  กระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชน+สร้างความตระหนัก
-     ระบบสุขภาพชุมชน (Community Health System)
o  การประชาสัมพันธ์ประเด็น พชอ.ทำอย่างต่อเนื่อง ปี 60 – ปัจจุบัน
o  การคืนข้อมูล 77 หมู่บ้าน 28 โรงเรียน
o  คืนข้อมูลสถิติ สาเหตุ สร้างความตระหนัก
o  เสริมพลังชุมชนต้นแบบ และขยายผล
o  แจ้งวาระ หน.ส่วน+เวทีผู้นำ+สู่ชุมชน โรงเรียน 
o  การบังคับใช้กฎหมายและการสอน
o  การบังคับใช้พรบ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
o  การบริการจราจร
o  ด่านตรวจชุมชน และจิตอาสา
แนวทาง Six Building Blocks Plus One: ประเด็นผู้สูงอายุ+ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
-     ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery system)
o  ทบทวนกระบวนการจัดบริการสวน
o  ประชุม Workshop ทบทวนภารกิจ
o  วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง
o  กำหนดบทบาทภารกิจร่วม
o  ฐานข้อมูลและความเป็นรูปธรรมของชมรมฯ
o  ความเชื่อมโยงของ 13 ชมรม
o  บูรณาการเครือข่าย จปฐ.
o  กำหนดบทบาทร่วม+การมอบหมาย
-     อัตรากำลังด้านสุขภาพ (Health Workforce)
o  วิเคราะห์ภาคสาธารณสุข+PM+งานเวช
o  ประธานชมรม กรรมการ+คลื่นลูกใหม่
o  ปกครอง (นายประเสริฐ  บุญแม้น) และการรวมทีมกรรมการ
o  ผู้รับผิดชอบอปท.
o  อสม.+จิตอาสา รวมถึงการกระจายการช่วยเหลือ เชื่อมโยงภาคจังหวัด เช่น พมจ.
-     ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information System)
o  ศูนย์ข้อมูล+สถิติ # สำนักเลขาฯ
o  การจัดตั้งกลุ่มสื่อสาร
o  ข้อมูลการได้รับการช่วยเหลือข้อมูลสถานะสุขภาพ Case by case
o  พัฒนาระบบการรายงานและแบบฟอร์มการบันทึก
o  การบริหารจัดการข้อมูล+และการนำไปใช้
-     การเข้าถึงยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็น (Access to Essential Medicines and Health Technology)
o  กำหนดแนวทาง ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ช่วยฟื้นฟู
o  กายอุปกรณ์และการสนับสนุนจากแม่ข่าย
o  รับบริจาค+แ


... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...