รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ครั้งที่ 3/2562 ( อ่าน 227 )


สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 3/2562

วันที่ 25 ตุลาคม 2562 เวลา 13.30 – 15.00 น.ณ ห้องประชุม CC2-414 ชั้น 4

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
 

กล่าวเปิดประชุมโดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อนหน้านี้
มีการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ฯไปเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เป็นเวลานานพอสมควรและการประชุมในครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการเนื่องจากเหลือระยะเวลาการดำเนินงานประมาณ 8 เดือน และเพื่อดูกิจกรรมของโครงการที่จะดำเนินการต่อไปจากที่ได้ไปตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าระดับจังหวัดมีบางแห่งที่ยังไม่ค่อยเข้าใจในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์
 
วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ 
1.1 สรุปผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ
ที่พึงประสงค์ฯ โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์
โครงการมีระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี ปัจจุบันอยู่ในปีที่ 3 งวดที่ 5 ได้ดำเนินงานไปตามแผนงานของโครงการมีเพียงบางกิจกรรมที่เลื่อนเวลาออกมาส่วนที่ต้องเร่งดำเนินการอาจจะไม่ทันมิถุนายน 2563 เนื่องจากแต่ละกิจกรรมเลื่อนเวลามาพอสมควร การทำงานกับพื้นที่ส่วนใหญ่มีปัญหาของภาระงานและระยะเวลาไม่ตรงกับทางโครงการ สรุปการดำเนินงานของโครงการตั้งแต่ มิถนายน 2560 ถึงปัจจุบันได้ดำเนินไป 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้ 
1.     ลงสำรวจพื้นที่ทั้ง 47 อำเภอ จากการสำรวจพื้นที่ได้ข้อมูลพื้นฐานปัญหาต่าง ๆ ของพื้นที่พร้อมทั้งได้แนวทางในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่และนำข้อมูลที่ได้สำรวจนำเข้าโปรแกรมประเมินระบบสุขภาพอำเภอออนไลน์ที่ทางโครงการพัฒนาขึ้นมา
2.     การสนับสนุนงบประมาณให้พื้นที่ทั้ง 47 อำเภอ อำเภอละ 50,000 บาท อาจจะมีบางอำเภอที่ใช้งบประมาณไม่ครบเพราะพื้นที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากส่วนอื่นมาเพื่อ
ใช้ไปในทางเดียวกับทางโครงการเช่นกัน บางพื้นที่ก็ได้คืนงบประมาณมาจำนวนหนึ่ง เมื่อการดำเนินการพัฒนาระบบสุภาพอำเภอสิ้นสุดตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ได้ทยอยส่งรายงานพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอมาให้ทางโครงการ

1.2 รายงานการประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัดและเขต ในวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุม Convention Hall ชั้น 5 โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์
                  เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมามีการจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าและตรวจเยี่ยมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ระดับจังหวัดและเขต ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะในแต่ละอำเภอให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและรายงานการพัฒนาระบบสุขอำเภอก็ทยอยส่งมาเกินครึ่งเพียงแต่จะต้องประสานพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์มากขึ้นและในการประชุมมีการรายงานผลการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอทั้งระดับจังหวัดและเขตพบว่าหลายอำเภอมีความเข้าใจเรื่อง Six Building Blocks Plus One มากยิ่งขึ้นและเห็นถึงประโยชน์ของการนำSix Building Blocks Plus One มาใช้ในการดำเนินงานหลังจากนั้นมีการบรรยายในหัวข้อ“Six Building Blocks Plus One”โดยนายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และมีการมอบเกียรติบัตรให้กับพื้นที่ที่ร่วมกับโครงการ
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า ทีมกลางของมหาวิทยาลัยนเรศวร และทีมประเมินของจังหวัดต้องช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์จากการประเมินรอบแรกจนถึงการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในปัจจุบันแต่ละพื้นที่มีการพัฒนามากน้อยเพียงใดเมื่อเข้าสู่การให้งบประมาณสนับสนุนในครั้งที่ 2 จะให้การสนับสนุนอย่างไร และอีกส่วนหนึ่งก็คือส่วนของที่ขาดการพัฒนาเชิงระบบในภาพรวมของเขตทางโครงการสามารถสนับสนุนงบประมาณในภาพรวมของเขตเนื่องจากยังพอมีงบประมาณเหลืออยู่พอสมควรเพราะฉะนั้นสามารถนำไปทำโปรแกรมให้เกิดเป็นรูปธรรมถ้าดำเนินการแล้วได้ผลดีสามารถส่งมอบให้ สสส. หรือสามารถนำไปขยายผลได้แต่ต้องมีทีมกลางช่วยวิเคราะห์อาจจะไม่ใช่โปรแกรมอย่างเดียวอาจจะเป็นกระบวนการฝึกอบรม

1.3  สรุปรายละเอียดการใช้งบประมาณของโครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ฯ โดยนางสาวสุพัตรา สลีวงศ์ เจ้าหน้าที่การเงิน
โครงการดำเนินกิจกรรมมาถึงงวดที่ 5 แต่งบประมาณทางการเงินอยู่ในงวดที่ 4 งบประมาณ
ในงวดที่ 5 อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกงบประมาณเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ดำเนินการโยกงบประมาณที่เหลือมาดำเนินงานในงวดที่ 5 ถึง งวดที่ 7 ส่วนงบประมาณในงวดที่ 4ทาง สสส.จัดสรรงบประมาณมาเฉพาะในส่วนของค่าตอบแทน เนื่องจากงบประมาณในงวดที่ 1 ถึง งวดที่ 3 ยังเหลืออยู่พอสมควรและงบประมาณที่เหลือจะนำมากระจายใช้ในงวดที่5 - 7 ตามแผนดำเนินกิจกรรม
         รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวเสริม งบประมาณแบ่งจ่ายมาเป็นงวด ขณะนี้กิจกรรมงวดที่ 1- งวดที่ 3 คงเหลืออยู่บ้างเป็นบางกิจกรรม และกิจกรรมที่จะดำเนินต่อไปในงวดถัดไป ทุกกิจกรรมมีแผนงานรองรับ

 

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม 
            2.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบหารพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ครั้งที่ 2/2562 วันที่ 11 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุม CC2-414 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
            โดยประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณารับรองรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2562 และ
ได้สอบถามท่านใดต้องการแก้ไขรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2562 หรือไม่ โดยในที่ประชุมไม่มีผู้ใดแก้ไขเพิ่มเติม
มติในที่ประชุม ได้พิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองรายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2562 
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ตามที่เสนอต่อที่ประชุม

 

วาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 
3.1 แผนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ครั้งที่ 2
โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์
     การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดตามระยะเวลาที่กำหนด งบประมาณในการสนับสนุนในครั้งนี้มีบางแห่งคืนงบประมาณมาส่วนหนึ่ง งบประมาณส่วนนี้จึงเหลือ 575,200 บาท ครั้งนี้อาจจะต้องดูว่าแต่พื้นที่ต้องการพัฒนาอย่างไร ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนงบประมาณ 50,000 บาทเท่ากันทุกแห่ง การให้งบประมาณสนับสนุนในครั้งที่ 1 แต่ละพื้นที่สามารถเบิกจ่ายได้เพียงค่าอาหาร ค่าเดินทาง การสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้อาจจะสามารถเบิกวัสดุได้ตามเงื่อนไขด้วยความเหมาะสม ขณะนี้มีพื้นที่ส่งรายงานมา 40 แห่ง เหลืออีก 7 แห่ง เมื่อได้รายงานฉบับสมบูรณ์ก็จะนำมาดูส่วนที่เป็น work flow ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองเห็นว่าพื้นที่เข้าใจการพัฒนาในเชิงระบบ
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เสนอแนะเมื่อปีที่แล้วทางโครงการให้งบสนับสนุนกับทางพื้นที่อำเภอละ 50,000บาท และบางอำเภอทำไม่ทัน เนื่องจากงบประมาณในระบบมีอยู่แล้ว และได้งบประมาณมาจากกระทรวงสาธารณสุขส่งมาเพิ่ม ดังนั้นขอเสนอสำหรับวันนี้ในเรื่องของงบประมาณสนับสนุนในครั้งที่ 2 อยากให้คณะกรรมการไปประสานกับพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันดำเนินงานมาถึงปีที่ 3 อยากให้การดำเนินกิจกรรมชัดเจน และได้ผลที่ชัดเจนในการให้งบประมาณสนับสนุนในครั้งที่ 1 ให้ทั้งหมด 47 อำเภอเพื่อทำให้มีพื้นฐานแต่ในการสนับสนุนงบประมาณในครั้งที่ 2 ก็ต้องสำรวจดูว่าพื้นที่ไหนมีสมรรถนะมากน้อยเพียงใดเลือกพื้นที่ที่มีสมรรถนะมากอย่างน้อยจังหวัดละ 2 - 3 แห่ง และทำให้ระบบเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หากต้องการเลือกเป็นบางอำเภอที่ให้งบประมาณสนับสนุนมากน้อยต่างกันจะมีเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข การตั้งเกณฑ์นั้นคงต้องระดมความคิดเห็นกันอีกครั้งในขณะรายงานของพื้นที่ยังส่งมาไม่ครบทุกแห่งควรจะมีทีมกลางมาวิเคราะห์สถานการณ์ทุกอำเภอจากรายงานรวมทั้งทีมของจังหวัดเพื่อให้สนับสนุนงบประมาณให้พื้นที่แล้วทางโครงการจะเห็นผลผลิตของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
นายธรรมรัตน์ เพชรี สสอ.เนินมะปราง เสนอแนะสิ่งที่ยังขาดอยู่คือการพัฒนาคณะอนุกรรมการในแต่ละประเด็นของ พชอ. ซึ่งคณะกรรมการกลุ่มนี้ควรจะได้เรียนรู้เรื่อง Six Building Blocks Plus One เพื่อให้อนุกรรมการเข็มแข็งโดยการจัดอบรมอนุกรรมการในแต่ละประเด็นในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาแลกเปลี่ยนกัน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อเสนอของท่านสสอ.เนินมะปรางคืออยากให้ทีมกลางลงไปช่วยในการพัฒนาอนุกรรมการในแต่ละประเด็นของ พชอ. จัดให้มีการประชุมโดยมีอนุกรรมการเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและให้ความรู้ในเรื่อง Six Building Blocks Plus One ร่วมด้วยระยะเวลาในการประชุมต้องเหมาะสมเนื่องจากเหลือระยะเวลาประมาณ 8 เดือน ควรจะจัดก่อนปีใหม่หรือก่อนให้งบประมาณสนับสนุนในครั้งที่ 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ทางโครงการมีการจัดการค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งปัจจุบันทางโครงการได้ทำเรื่องเกี่ยวกับระบบข้อมูลที่ใช้ในการประเมินที่ใช้ทั้งระดับอำเภอ และเขต แต่จะทำอย่างไรให้ขยายต่อไปทั้งงานสาธารณสุขภาคส่วนอื่น ๆ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ของโครงการด้วย
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข 
จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์ นำเสนอมาเป็นสิ่งที่ดีเพียงแต่ทางโครงการต้องคิดว่าจะต้องมีข้อมูลร่วมกันอย่างไรบ้าง เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เผยแพร่ได้และข้อมูลไม่ควรซ้ำซ้อนกันพร้อมทั้งหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอแนะเพิ่มเติมถ้าเป็นการใช้งานเว็ปไซต์อาจไม่มีการโต้ตอบกลยุทธ์ในการสื่อสารก็สำคัญมากเพราะฉะนั้นในวันที่จัดอบรมควรมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่าย

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้
1. เรื่องของการจัดการอบรมอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)
2. เรื่องการทำเว็บไซต์เพื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตั้งคณะกรรมการมาเพื่อทำเรื่องนี้ทำให้ได้ทราบว่า DHS ได้พัฒนามาส่วนหนึ่งจากเรื่องนี้
นายแพทย์ภูวดล พลพวก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางระกำ เสนอ ให้มีการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจจะเชิญตัวแทนจังหวัดละ 3 - 4 แห่งที่ประสบความสำเร็จมาจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชิญตัวแทนจาก
ทุกอำเภอ ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานสาธารณสุขอย่างเดียว 
         รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ น่าจะเรียกว่าเป็นการจัดมหกรรม โดยอาจจะเลือกมาจังหวัดละ 2 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง โดยไม่ควรจะเป็นประเด็นที่ซ้ำกันแต่เชิญทุกแห่งมาร่วมฟังอาจจะต้องดูรายงานฉบับสมบูรณ์และให้อนุกรรมการมาช่วยดูกัน
         ทพ.สันติ ศิริวัฒนไพศาล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2กรอบระยะเวลาค่อนข้างกระชันชิดอาจจะดำเนินการไม่ทัน
         นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข บางเรื่องสามารถทำไปควบคู่กันได้ เช่น ปรับการใช้งานโปรแกรมต้องเร่งดำเนินการเพื่อหาฐานข้อมูลที่ชัดเจนส่วนเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำเอาอำเภอที่โดดเด่นในเชิงระบบของเฟสที่ 1 มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พร้อมทั้งการอบรมอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ก็สามารถจัดได้แต่อาจจะไม่ 100% แต่ขอให้ดำเนินการให้มากที่สุดเมื่อถึงมิถุนายน 2563 อาจจะต้องขยายระยะเวลาของโครงการออกไปอีกถึงเดือนกันยายน 2563
         นายสมนึก ธีระภัทรานนท์  ตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ทางโครงการดำเนินงานมาถึงตอนนี้มีระยะเวลาดำเนินงานแค่ 8 เดือน แต่ก่อนหน้านี้ได้ดำเนินกิจกรรมมาพอสมควรสิ่งที่ต้องการตอนนี้คือการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่ชัดเจนของพชอ. ผู้รับผิดชอบงานในระดับจังหวัดน่าจะพอมองเห็นในบางพื้นที่ที่โดดเด่น เลือกมาจังหวัดละ 2-3 แห่งมาต่อยอดในส่วนของกลุ่มนี้ดีกว่า เช่น บางแห่งโดดเด่นในเรื่องระบบ IT (GLS for DHB) ก็ควรจะต่อยอดให้เป็นรูปธรรมชัดเจน


วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ 
         นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เสนอเรื่อง
การพัฒนาความเข้มแข็งหนึ่งในระบบย่อยสำคัญในระบบสุขภาพอำเภอ (Health Information System) มีการกล่าวถึงตั้งแต่เริ่มโครงการ ว่าอาจจะมีการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ และมีบางระบบของ Six Building Blocks Plus One ที่อยากพัฒนารวมกันทั้งเขต 
 
หลักการสำคัญ
ผลผลิตจากข้อมูล (ข้อมูลพื้นฐาน หรือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ใช้เป็นส่วนสำคัญ
ในการสนับสนุน บริการ และสนับสนุนการบริหารจัดการ ดังนั้น การ Design ระบบข้อมูลจึงต้องเริ่มจากความต้องการในการนำไปใช้ในปัจจุบันมีระบบข้อมูลที่ปรากฏใช้งานอยู่ซึ่งค่อนข้างเฉพาะเรื่อง แยกส่วนขาดความเชื่อมโยงไม่สามารถผลิตคำตอบที่ต้องการในเวลาที่ต้องการได้และไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น มีโปรแกรมจัดการข้อมูลจำนวนมากที่เป็นเรื่องเดียวกันหลายโปรแกรม บางโปรแกรมเกี่ยวกับสุขภาพแต่ใช้กับจุดประสงค์อื่นทำให้คุณค่าลดลง เกิดภาระในการทำงาน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงควรศึกษา information system ว่ามีบทบาทสอดแทรกอย่างไรบ้าง
Governance การขับเคลื่อนนโยบายได้หรือไม่ดูการใช้งานตั้งแต่ input ถึง information
Service Delivery System ศักยภาพของโปรแกรมสามารถตอบสนองต่อการทำงานในระบบนี้ดูความเชื่อมโยงและตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร
Health Workforce โปรแกรมมีการตอบสนองหรือไม่ ตั้งแต่ input ถึง informationเชื่อมโยงกันหรือไม่และตรงความต้องการของผู้บริหารหรือไม่
Health Information System ในระดับอำเภอมีหน่วยงานใดหรือบุคคลใดรับผิดชอบใช้เครื่องมือและมีวิธีการดำเนินการอย่างไร
Access to Essential Medicine and Health Technology มีโปรแกรมส่วนไหนที่ช่วยจัดหา ควบคุม กำกับ ประเมินประสิทธิภาพในการใช้งาน 
Financing and Resource sharing โปรแกรมที่ใช้หรือเกี่ยวข้องการกิจกรรมในระบบนี้ในหน่วยบริการและหน่วยงานระบบบริการสุขภาพสามารถตอบสนองต่อการทำงาน
Community Health System โปรแกรมที่ใช้หรือเกี่ยวข้องการกิจกรรมในระบบนี้ศักยภาพ
ของโปรแกรมสามารถตอบสนองต่อการทำงานในระบบนี้
วิธีการศึกษา
1. จากการ review เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง 
- เพื่อให้ทราบว่ามีโปรแกรม ฐานข้อมูล หรือกระบวนการข้อมูลที่ใช้อยู่ 
- เพื่อให้ทราบรูปลักษณ์ของวิธีการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งการบันทึก จัดเก็บข้อมูล  
   การประมวลผลตัวรายงานที่ถูกผลิตออกมา
- เพื่อให้ทราบลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ 
2. จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ (ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานย่อย หัวหน้างาน 
ผู้ปฏิบัติ)
- เพื่อให้ทราบการรับรู้ถึงการมีโปรแกรมจัดการข้อมูล 
- เพื่อให้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม
- เพื่อให้ทราบถึงการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมนั้นๆ
3. จากการทดสอบการทำงานของโปรแกรมจริง
- ทดสอบวิธีการขั้นตอนในการบันทึกข้อมูล
- ทดสอบขั้นตอนในการประมวลผลข้อมูล
- ทดสอบขั้นตอนในการผลิตรายงาน หรือ การเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
4. จากหลักการทำงานของ DHS ควรมีระบบข้อมูล หรือ โปรแกรมลักษณะใดที่จะทำให้การทำงานดีขึ้น
กิจกรรมในการศึกษา
1. จัดตั้งทีมงาน (ทีมเดิมที่เคยตั้งไว้แล้ว) ลงไปเก็บข้อมูล จดบันทึกสิ่งที่พบและที่เกี่ยวข้องโดยที่ลงไปต้องมีความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์ทีมงานที่ได้รับการจัดตั้งประชุมกันครั้งที่ 1ทำความเข้าใจภารกิจ จัดแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนกำหนด timeline ในการทำงานมอบหมายให้ไปเตรียมการในส่วนที่ได้จัดแบ่งหน้าที่ไป ครั้งที่ 2. แต่ละส่วนนำเสนอการเตรียมการในส่วนของตนพิจารณาเห็นชอบหรือปรับปรุงให้เหมาะสม นัดหมาย การลงศึกษา
2. ลงพื้นที่เพื่อทำการศึกษาโดยกำหนดพื้นที่ 
•ระดับเขต(คณะกรรมการCIO) 
•ระดับจังหวัดคือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(พิษณุโลก) 
•ระดับอำเภอคือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล
• ลงพื้นที่บาง สสจ. หรือบางอำเภอ ที่อาจมีโปรแกรมจัดการข้อมูลพิเศษ
ลงพื้นที่อย่างน้อย 5 ครั้ง เพื่อทำการศึกษาในแต่ละครั้งที่ลงพื้นที่จะนำข้อมูลมาสรุปเสนอคณะทำงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการลงไปพื้นที่ครั้งต่อไปดังนั้นจึงต้องมีการประชุมของคณะทำงาน อย่างน้อย 5 ครั้ง จัดตั้ง ระบบ “Finding Tank” เพื่อรวบรวม สิ่งค้นพบ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
3. ประชุมระดมสมองวิเคราะห์สิ่งที่ได้พบจาก ข้อ 2
          • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่พบ Re-design เพื่อจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาระบบข้อมูล 
ในบางมุมของการพัฒนาถ้าสามารถจัดทำเป็น “โปรแกรม”เพื่อให้เกิดการพัฒนาในภาพรวมของเขต
4. ประชุมคณะกรรมการพัฒนา ระบบ DHS ชุดใหญ่ครั้งที่ 1. เห็นชอบให้ข้อเสนอแนะการเตรียมการก่อนลงไปศึกษาครั้งที่ 2. รับทราบผลการลงไปศึกษาครั้งที่ 3. รับทราบและให้ความเห็นชอบกับข้อสรุปของคณะทำงาน
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข การใช้งานโปรแกรมเป็นปัญหาที่พบมายาวนานขณะนี้ควรศึกษาแค่ระบบสุขภาพอำเภอเป็นหลักข้อมูลเป็นอย่างไร ปัญหาสำคัญ
อยู่ส่วนไหนส่วนการแก้ไขให้โปรแกรมเชื่อมโยงกันถือเป็นอีกขั้นนึง
รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ การทำระบบHealth Information System ไม่ใช่เรื่องง่ายควรทำภายใต้กรอบการดำเนินการของโครงการ
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ระยะเวลาที่เหลือ
ของโครงการค่อนข้างสั้นขอบเขตที่จะลงพื้นที่ไปเป็นเรื่องของระบบสุขภาพอำเภอเป็นหลัก
สิ่งที่ต้องการคือ มีโปรแกรมอะไรบ้าง มีความเชื่อมโยงกันอย่างไรซึ่งถ้าเราทราบข้อมูลทั้งหมดว่าเป็นอย่างไรบ้างก็จะมีประโยชน์ต่อระบบสุขภาพอำเภอ
นายธรรมรัตน์ เพชรี สสอ.เนินมะปราง เห็นด้วยกับปัญหาในการใช้งานโปรแกรมทางสาธารณสุขตั้งแต่มีการทำงานของพชอ.เริ่มขึ้นมาเมื่อต้องการข้อมูลบางอย่างทางสาธารณสุขก็ให้ข้อมูลได้ไม่ละเอียดหรือครอบคลุมต้องไปข้อขอมูลจากหน่วยงานอื่น เช่น ข้อมูลการตายย้อนหลัง 3 ปี เป็นต้น
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป้าหมายคือลงพื้นที่ในระดับอำเภอทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ เพื่อดูระบบข้อมูล
นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก การลงพื้นที่ระดับอำเภอรวมที่กล่าวมาข้างต้นทางทีมเคยประชุมร่วมกันประมาณ 2 ครั้ง และยังต้องการแนวร่วม ดังนี้ 
1. ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจระบบคอมพิวเตอร์มีความคุ้นเคยกับพื้นที่และต้องเข้าใจการบริหารข้อมูล
2. ผู้เชี่ยวชาญทางระเบียบงานวิจัย 
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมพร้อมทั้งปิด
การประชุมผู้เชี่ยวชาญทางระเบียบวิจัยให้ทางมหาวิทยาลัยนเศวรช่วยและถือว่าเป็นผลผลิตของโครงการฯการดำเนินการอาจจะทำใน จ.พิษณุโลกและอำเภอใกล้เคียง
การนัดหมายการประชุมครั้งต่อไปของคณะกรรมการบริหารโครงการและคณะอนุกรรมการ วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562


... ... ...